วันจันทร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2554

กวนอู

เดิมเป็นชาวอำเภอไก่เหลียง ดินแดนฮอตั๋ง ชื่อเดิมคือเผิงเสียน ชื่อรองโซ่วฉาง รูปร่างสูงใหญ่ สง่างามน่าเกรงขามแก่ผู้พบเห็น มีกำเนิดในครอบครัวนักปราชญ์ เชี่ยวชาญด้านคัมภีร์พิชัยสงครามและคัมภีร์หลี่ซื่อชุนชิว เป็นนักโทษต้องคดีอาญาแผ่นดิน หลบหนีการจับกุมเร่รอนไปทั่วเป็นเวลา 6 ปีจนถึงด่านถงกวน นายด่านพบพิรุธจึงสอบถามชื่อแซ่ กวนอูตกใจจึงชี้ไปที่ชื่อด่านคือ "ถงกวน" ทำให้นายด่านเข้าใจว่ากวนอูนั้นแซ่กวน หลังจากนั้นเป็นต้นมากวนอูจึงเปลี่ยนจากชื่อเดิมคือเผิงเสียนเป็นกวนอูต่อมาได้พบเล่าปี่และเตียวหุยที่ตุ้นก้วนและร่วมสาบานเป็นพี่น้องกัน กวนอูได้ร่วมรบกับเล่าปี่ปราบโจรโพกผ้าเหลืองจนราบคาบในสมัยพระเจ้า แต่เล่าปี่กลับได้เพียงตำแหน่งนายอำเภออันห้อก้วน ภายหลังต๊กอิ้วซึ่งเป็นเจ้าเมืองออกตรวจราชการที่อำเภออันห้อก้วน เล่าปี่ไม่มีสินบนมอบให้จึงถูกใส่ความด้วยการเขียนฎีกาถวายพระเจ้าในข้อหากบฏ เตียวหุยโกรธจัดถึงกับพลั้งมือเฆี่ยนตีต๊กอิ้วจนเกือบเสียชีวิต ทำให้เล่าปี่ต้องหลบหนีจากการจับกุมของทางการพร้อมกับกวนอูและเตียวหุย
วีรกรรมของกวนอูนั้นมีมากมาย เริ่มจากการร่วมปราบปรามโจรโพกผ้าเหลืองร่วมกับทหารหลวงของพระเจ้า สังหาร
ฮัวหยงแม่ทัพของตั๋งโต๊ะโดยที่สุราคาราวะจากโจโฉยังอุ่น ๆ ปราบงันเหลียงและบุนทิวสองทหารเอกของอ้วนเสี้ยว บุกเดี่ยวพันลี้หนีจากโจโฉเพื่อหวนกลับคืนสู่เล่าปี่ด้วยคำสัตย์สาบานในสวนท้อ ทั้งที่โจโฉพยายามทุกวิถีทางเพื่อมัดใจกวนอูแต่ก็ไม่เป็นผลสำเร็จ ฝ่า 5 ด่าน สังหาร 6 ขุนพลของโจโฉ และในคราวศึกเซ็กเพ็กโจโฉแตกทัพหนีไปตามเส้นทางฮัวหยง กวนอูได้รับมอบหมายจากขงเบ้งให้นำกำลังทหารมาดักรอจับกุม โจโฉว่ากล่าวตักเตือนให้กวนอูระลึกถึงบุญคุณครั้งก่อนจนกวนอูใจอ่อนยอมปล่อยโจโฉหลุดรอดไป โดยยอมรับโทษประหารตามที่ได้ทำทัณฑ์บนไว้กับขงเบ้ง
เมื่อเล่าปี่สถาปนาตนเองเป็น
จักรพรรดิครองเสฉวน ได้ให้กวนอูไปกินตำแหน่งเป็นเจ้าเมืองเกงจิ๋วและแต่งตั้งให้เป็นหนึ่งในห้าทหารเสือของเล่าปี่ ภายหลังซุนกวนมอบหมายให้โลซกเจรจาขอเกงจิ๋วคืน กวนอูบุกเดี่ยวข้ามฟากไปกังตั๋งเพื่อกินโต๊ะตามคำเชิญโดยที่โลซกและทหารที่แอบซุ่มรอบ ๆ บริเวณไม่สามารถทำอันตรายได้ ภายหลังซุนกวนเป็นพันธมิตรกับโจโฉนำทัพโจมตีเกงจิ๋ว กวนอูพลาดท่าเสียทีแก่ลิบองและลกซุนสองแม่ทัพแห่งกังตั๋งจนเสียเกงจิ๋ว พยายามตีฝ่ากำลังทหารที่ล้อมเมืองเป๊กเสียเพื่อชิงเกงจิ๋วกลับคืนแต่โดนกลอุบายจับตัวไปได้ ซุนกวนพยายามเกลี้ยกล่อมให้กวนอูยอมจำนนและสวามิภักดิ์แต่ไม่สำเร็จ จึงถูกประหารพร้อมกับกวนเป๋งบุตรบุญธรรมในเดือนสิบสองของปี พ.ศ. 762
ศีรษะของกวนอูถูกซุนกวนส่งไปมอบให้แก่โจโฉที่ฮูโต๋ ซึ่งเป็นกลอุบายที่หมายจะหลอกให้เล่าปี่หลงเชื่อว่าโจโฉเป็นผู้สั่งประหารกวนอู และนำกำลังทหารไปทำศึกสงครามกับโจโฉแทน แต่โจโฉเท่าทันกลอุบายของซุนกวนจึงจัดงานศพให้แก่กวนอูอย่างสมเกียรติ นำไม้หอมมาต่อเป็นหีบใส่ศีรษะกวนอู แต่งเครื่องเซ่นไหว้ตามบรรดาศักดิ์ขุนนางผู้ใหญ่รวมทั้งสั่งการให้ทหารทั้งหมดแต่งกายขาวไว้ทุกข์ให้แก่กวนอู ยกย่องให้เป็น
อ๋องแห่งเกงจิ๋วและจารึกอักษรที่หลุมฝังศพว่า "ที่ฝังศพเจ้าเมืองเกงจิ๋ว" ศีรษะของกวนอูถูกฝังไว้ ณ ประตูเมืองลกเอี๋ยงหรือลัวหยางทางด้านทิศใต้

กิมท้ง

พระโพธิสัตว์ในรูปนั้นทรงอยู่ในปางประทานบุตร >ทรงอุ้มพระกุมาร(กิมท้ง)ไว้ในพระอุระ >พระกุมารดังกล่าวก็ถือลงในหมวดกิมท้งเช่นกัน( กิมท้ง >นั้นเป็นชื่อตำแหน่งของพระกุมารชาย กิมท้งแต่ละพระองค์จะทรงพระนามว่าอะไรนั้น >ผู้เขียนมีข้อมูลไม่เพียงพอ >ในจริยะเทวาอริยะฐานะของสายธรรมโซยที(สายธรรมของโกวเนี้ย) ได้กล่าวว่า >ทิพยวิมานได้แบ่งเทพเทวาเป็น 24 หมวด อาทิ เทวาหมวดอักษร(เจี้ยวฮว่า) >เทวาหมวดจริยะระเบียบ(หลี่กุย)เทวาทิพยบัลลังค์ เป็นต้นใน 24 หมวดนี้ >เทพเซียนต่างต้องรับผิดชอบในภาระหน้าที่ของตน >แต่หน้าที่บนพระวิมานนั้นหาได้มีเพราะเง็กเซียนเป็นผู้ประทานให้ >แต่เป็นเพราะการตั้งปณิธานของผู้บำเพ็ญปฏิบัติเองตั้งแต่ยังอยู่ในโลกมนุษย์ >เช่น ในตอนมีชีวิตอยู่ได้ตั้งปฌิธานเผยแพร่ธรรมะ แสดงวิถีทางแก่มหาชน >ครั้นเมื่อดับสังขารนี้ไป ก็ไปเสวยฐานะเป็นพระเทวาหมวดจริยะระเบียบ >คอยเป็นธรรมโฆษกเทพ ประกาศพระสัทธรรมบนทิพยวิมาน)> พระกุมารเทพอั๊งไห้ยี๊ (ภาษาจีนกลางออกเสียงว่า หงไหเอ๋อ) >หมายถึงพระกุมารแดง ทรงอาภรณ์สีแดง มีศาตราวุธประจำพระองค์คือ ทวนยาว >สามารถพ่นไฟที่มีอำนาจร้ายแรง มีของวิเศษได้แก่ >รองเท้าที่สามารถเหาะเหินเดินอากาศได้ อั๊งไห้ยี๊ >จัดเป็นพระกุมารที่คนรู้จักกันมากที่สุดพระองค์หนึ่งในกลุ่มพระกุมาร 6 >พระองค์ได้แก่ 1จินจา 2 มู่จา 3 นาจา 4 ซ่านไฉ 5 หลงหนี่ 6 หงไหเอ๋อ >พระกุมารเทพ 3 พระองค์แรกเสวยพระภาระตั้งแต่สมัยพระอริยะบุพมาตานึ่งออ >(นึ่งออเนี่ยเนี๊ย) สร้างโลก >พระกุมารซ่านไฉและหลงหนี่บังเกิดขึ้นในสมัยปลายราชวงศ์โจว >เป็นพระอุปัฏฐากพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ >ส่วนพระกุมารหงไหเอ๋อบังเกิดขึ้นจากตำนานการอัญเชิญพระตรัยปิฎกของพระถังซำจั๋ง> >ครั้งเมื่อราชวงศ์ถังได้รวบรวมแผ่นดินจงหยวน(ภาคกลางของจีน)ได้อย่างราบคาบ >พระจักรพรรดิ์ถังไท่จง(หลี่ซื่อหมิง)ทรงทำนุบำรุงประเทศชาติเป็นอย่างดี >กาลนั้นพระสมณเหี้ยนจั๊งผู้คงแก่เรียน >ได้ทำการศึกษาพระพุทธคัมภีย์จนแตกฉานในพระไตรปิฎก >แต่เนื่องจากเหตุการณ์สงครามเมื่อครั้งต้นพระราชวงศ์ >ทำให้วัดวาอารามพระคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาถูกเผาทำลายไปเป็นจำนวนมาก >พระสมณะเจ้าจึงมีดำริจะไปอัญเชิญพระพุทธคัมภีร์ยังอินเดียเพื่อหวังกลับมาเผยแพร่พระสัทธรรมของพระศาสดาเจ้าให้เวไนยสัตว์ได้รู้ตื่นพ้นจากห้วงทุกข์> >พระสมณะเจ้าเป็นพระภิกษุที่มาจากเมืองถังครั้นเมื่อเดินทางกลับมาได้แปลพระคัมภีร์จากภาษาสันสกฤตเป็นภาษาจีนมากมายจนได้พระสมณศักดิ์เป็นพระธรรมาจารย์ตรีปิฎก(ซำ >จั๊ง ฮวบ ซือ)ดังนั้นจึงขนานนามท่านว่า พระถังซำจั๋ง> นิทานเรื่องไซอิ๋วนั้นแต่งขึ้นในสมัยราชวงศ์หมิง >ซึ่งมีระยะเวลาห่างไกลจากราชวงศ์ถังหลายร้อยปี ในไซอิ๋วกล่าวว่า> ครั้นพระสมณะเหี้ยนจั้ง(พระถัง)เดินทางไปอัญเชิญพระไตรปิฎก >ไปพบภูเขาไฟใหญ่กีดขวางทางอยู่ด้านหน้า >ซึงหงอคงจึงรับอาศาไปขอยืมพัดเหล็กจากองค์หญิงพัดเหล็ก >เหตุนี้เองจึงทำให้เกิดตำนานอั๊งไห้ยี้> อั๊งไห้ยี๊ เป็นบุตรของอ๋องกระทิงและองค์หญิงพัดเหล็ก >เมื่อครั้งที่มารดาตั้งท้องได้ไปขอพระบุตรจากพระโพธิสัตว์กวนอิม >พระกวนอิมโพธิสัตว์เห็นว่าเธอตั้งใจรักษาศีลกินเจ >จึงได้ประทานพระกุมารน้อยให้บังเกิดในครรภ์ขององค์หญิงพัดเหล็กนั่นเอง >ครั้นเมื่อเติบโตขึ้น >มีอิทธิปาฏิหาริ์ย์ใช้รองเท้าขิงบิดาเดินน้ำเหาะทยานในอากาศ >สามารถพ่นไฟที่ทรงพลานุภาพ มีอาวุธคือทวนยาว >แต่อาภัพเพราะบิดาไปมีภรรยาน้อยหลายคนจึงกลายเป็นเด็กมีปัญหา >ต่อมาได้คบเพื่อนเลวและถูกยุยงให้ไปฆ่าพระถังมาเพื่อบริโภค >พระโพธิสัตว์กวนอิมได้มอบฐานบัววิเศษให้หงอคงนำไปจับตัวอั๊งไห้ยี้ >ผลสุดท้ายอั๊งไห้ยี๊ถูกจับตัวและพระถังได้เทศนาจนกลับใจ >ส่วนเพื่อนเลวก็ถูกอานุภาพแห่งพระสูตรที่ชื่อว่า ปรัชญาปารมิตาสูตร >ครั้นเมื่อพระถังพร้อมลูกศิษย์ร่วมกันภาวนาพระสูตรดังกล่าวเพื่อนมารก็ถึงที่ตาย >อั๊งไห้ยี้ตั้งใจสำนึกตัวด้วยความผิดที่ฆ่าประชาชนตายไปในศึกที่สู้กับหงอคง >จึงตั้งปณิธานไปบำเพ็ญตัวที่ภูเขาโพ่วท้อซันซึ่งเป็นพระพุทธบรรพตที่พระโพธิสัตว์กวนอิมพำนักอยู่ >อั๊งไห้ยี๊เดินทางจากบ้านด้วยวิธี ซาน ขู่ อิ๊ ป่าย(เดิน 3 ก้าวกราบ 1 กราบ ) >ระหว่างเดินไปกราบไปก็ภาวนา นำมอกวนซืออิมผู่สักด้วย จนไปถึงภูเขา >ตำนานไท้จื้อกราบกวนอิมก้อกำเนิดมาจากตำนานนี้นี่เอง>

ปุ่นเถ่ากง

 เป็นชื่อที่เรียกตามภาษาจีนแต้จิ๋ว ส่วนจีนกลางเรียกว่า เปิ่นโถวกง เป็นเทพเจ้าที่พบใน เมืองไทย ฟิลิปปินส์ และที่ ปีนัง เท่านั้น
เปิ่นโถวกง และ ต้าเป๋อกง เป็นเทพองค์เดียวกัน เป็นเทพที่นักเดินเรือ ในสมัยราชวงศ์ซ่ง (ซ้อง) กราบไหว้กัน โดยมีชื่อเดิมว่า โตวกงแต่ที่ปีนังชาวพื้นเมืองเรียกเทพองค์นี้ว่าเปิ่นโถวกงฟิลิปปินส์เรียกเทพองค์นี้ว่า เปิ่นโถวกัง ชื่อดังกล่าวเป็นเพียงตำแหน่ง เทพผู้ดำรงตำแหน่งนี้ จะแตกต่างกันไปตามบุคคล เวลา และสถานที่ ผู้ดำรงตำแหน่งนี้ จะเป็นใครไม่อาจจะทราบได้ หรืออาจจะเป็นเพียงสัญลักษณ์ ของบรรพบุรุษ ของชาวจีน โพ้นทะเลเท่านั้น ก็ได้ คำว่า เปิ่นโถว ซึ่งหมายถึง เปิ่นตี้ หรือที่ดั้งเดิม หรือ โถวมู่ ซึ่งแปลว่าหัวหน้าในสถานที่นั้น ๆ บางคนเรียกย่อ ๆ ว่า ตี้โถว ในสมัยก่อนเมื่อผู้เป็นใหญ่ในเขตนั้น ๆ หรือผู้นำในเขตอื่นๆ ได้ทำคุณประโยชน์ ให้แก่เขตปกครองมากมาย เมื่อตายไปแล้ว ก็ถูกยกย่องให้เป็นเทพ จึงเรียกว่าเปิ่นโถวกง ซึ่งหมายความว่า ผู้เป็นใหญ่แห่งเขตนั้นๆ
หน้าที่รับผิดชอบ
คนที่มีที่ทางเยอะๆ จะมากราบไหว้เพื่อให้ท่านปกปักรักษาที่ดิน ดูแลที่ดิน หรืออาณาบริเวณ คอยปกป้อง คุ้มครองคนในบ้าน ให้ร่มเย็นเป็นสุขและปลอดภัย ในตลาดสดทั้งหลาย ส่วนมากจะตั้งเทพเปิ่นโถวกงไว ้เป็นเทพประธาน หากไม่ตั้งเปิ่นโถวกงไว้เป็นเทพประธานในศาล ก็ต้องตั้งเป็นเทพชั้นรอง เพื่อจะได้ช่วยปกป้อง ความร่มเย็น และการค้าเจริญรุ่งเรือง

เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย
คนจีนฮกเกี้ยนมักจะอัญเชิญท่านไว้ที่หิ้งเพื่อกราบไหว้ ส่วนคนจีนแต้จิ๋วจะนิยมอัญเชิญท่านไว้ที่หิ้งบนพื้น เพราะถือว่า ท่านเป็นเทพเจ้าที่ ในการบูชาเจ้าที่ของแต่ละบ้าน อาจมีรายละเอียดต่างกันนิดหน่อยแล้วแต่คนนิยม เช่น บางบ้านนิยมบูชาดอกไม้สด มาลัย บางบ้านต้องมีต้นกวนอิม ปักแจกันไว้ประจำ ที่กระถางธูปนิยมมีกิมฮวย (จินฮวา ) ประดับ แต่ในกระถางธูปบางบ้านนิยมใส่ทรายหรือข้าวสารที่กระถางธูป บางบ้านใส่เป็นโหงวเจ้งจี้ (อู่จ่งจือ ) หรือ เมล็ดทั้งห้า คือข้าวเปลือก ข้าวสาร ข้าวเหนียวแดง เมล็ดถั่วเขียว เมล็ดถั่วแดง
นอกจากนี้ ก็อาจมีของบูชาที่มีความหมายเป็นมงคล เช่น ฟักทอง ฟักเงิน สับปะรด เงิน ทอง ฯลฯ แล้วก็มีของสดบูชา เช่น น้ำชา 5 ที่ เหล้าขาว 5 ที่ มะพร้าวอ่อน ส้ม บางบ้านไหว้ธูป 5 ดอก ลึกๆ แล้วการบูชาเจ้าที่คือการไหว้ธาตุทั้งห้า คือ ธาตุทอง ดิน ไม้ น้ำ ไฟ
ปางหรือลักษณะรูปเคารพ
รูปเคารพของเทพ ปุนเถ่ากง หรือ ปุนเถ่าม่า เทพองค์นี้มีลักษณะของรูปเคารพ ที่ไม่เหมือนกัน ในทุกศาลเจ้า เช่นมีทั้งที่แต่งกาย แบบขุนนางฝ่ายบุ๋น บ้างก็แต่งกายแบบขุนนางฝ่ายบู๊ มีหนวด มือขวาถือหลู่ยี่ มือซ้ายถือก้อนทอง เป็นต้น 

องค์หลิมฮู้ไท้ซู่

             หลิมฮู่ไท่ซู หรือ หลินโหวไท่โส่ว หรือ จิ้นอันอ๋อง เป็นเทพองค์หนึ่งที่รู้จักกันดี เดิมชื่อ ลู่ (ลก) แซ่หลิน (หลิม) บิดาชื่อ หลินอิ่ง มารดาชื่อ ปิ่นซื่อ บิดาไปรับราชการที่เมืองจีหนาน (ซานตง) ได้ให้กำเนิดบุตรชายสองคน คนพี่ชื่อ หลินมู่ (หลิมมก) ถือกำเนิดเมื่อ พ.ศ.815 คนน้องชื่อ หลินลู่ ถือกำเนิดเมื่อวันที่ 3 ค่ำ เดือน 4 (บางตำนานถือเอา วันที่ 1 ค่ำ เดือน 1) ตามจันทรคติ เป็นปีไท่สื่อที่ 10 รัชสมัยฮ่องเต้จิ้นอู่ตี้ (ซือหมาเอี๋ยน) แห่งราชวงศ์จิ้นตะวันตก เมื่อ พ.ศ.817 และสืบลำดับแซ่หลินจากปิเจียนกง ผู้เป็นต้นแซ่หลินเป็นรุ่นที่ 69 ต่อมาบิดาย้ายมารับราชการที่เมืองซูโจว และเมื่อ พ.ศ.820 โปรดเกล้าฯให้ย้ายเมืองหลวงลั่วหยาง เพื่อรับตำแหน่งหวงเหมินซื่อหลาง นายทหารรักษาพระองค์ ส่วนหลินลู่เข้ารับราชการทหารเมื่ออายุได้ 16 ปีในหลงเย่อ๋อง (ซือหม่าลุ่ยอ๋อง ประสูติ พ.ศ.819 โอรสฮ่องเต้จิ้นอู่ตี้) จนกระทั่ง พ.ศ.833 ฮ่องเต้จิ้นฮู้ตี้เสด็จสวรรคต ซือหม่าจงอ๋องเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นฮ่องเต้จิ้นฮุยตี้
สภาพบ้านเมืองหลังยุคสามก๊กสงบไปได้หน่อยหนึ่งในสมัยจิ้นอู่ตี้ แต่หลังจากนั้น พวกแซ่ซือหม่าอ๋องที่เป็นข้าหลวงอยู่หัวเมืองและภายในเมืองหลวงต่างแย่งกันเป็นใหญ่ นอกจากนี้พวกชนเผ่าทางภาคเหนือที่เรียกว่า พวกอู่หู อพยพเข้าภาคกลางลงไปทางภาคใต้เป็นล้านคน บ้านเมืองวุ่นวายเพราะหัวหน้าชนเผ่าเป็นขบถ ต่างยกตนเป็นอ๋องสร้างอาณาจักรด้วยการตีเมืองที่อ่อนแอกว่า ในเมืองหลวงพวกราชสกุลซือหม่าต่างฆ่าฟันกันเองระหว่างญาติ หลงเย่อ๋องจึงตัดสินใจอพยพไปสมทบกับซือหม่าอุยซึ่งเป็นตงไห่อ๋อง ที่ภูเขาจิ่วหลงซาน แล้วอพยพไปตั้งหลักที่เมืองซูโจว หลงเย่อ๋องโปรดเกล้าฯแต่งตั้งให้หลินลู่ดำรงตำแหน่ง หวงเหมินซื่อหลาง นายทหารรักษาพระองค์
ข้างพวกซือหม่าอ๋องยกทัพเข้าเมืองลั่วหยาง จนฮ่องเต้จิ้นสุ่ยตี้เสด็จหนีไปประทับที่เมืองฉางอาน ตงไห่อ๋องและหลงเย่อ๋องต้องยกทัพจากเมืองซูโจวไปปราบพวกอ๋องและนายพลที่คุมฮ่องเต้อยู่ แล้วเชิญเสด็จให้ไปประทับที่ลั่วหยางตามเดิม หลินลู่ได้ตามเสด็จหลงเย่อ๋องเข้าร่วมรบด้วย เมื่อจัดการบ้านเมืองเรียบร้อยแล้ว หลงเย่อ๋องพร้อมด้วยหลินลู่กลับสู่เมืองซูโจว
หลินลู่ได้ภรรยาชื่อ จางซ่อ มีบุตรชาย 5 คน เมื่อเติบใหญ่ต่างเข้ารับราชการมีชื่อเสียงเป็นที่กล่าวขานทั่วไปว่าห้าอาชารุ่งโรจน์ทางใต้ของฝั่งแม่น้ำแยงซีเกียง
ส่วนตงไห่อ๋องไม่พอใจที่ฮ่องเต้จิ้นสุ่ยตี้โปรดเกล้าให้ซือหม่าทั้ง 5 องค์เข้ามารับราชการในเมืองหลวง จึงลอบปลงพระชนม์เสด็จสวรรคตเมื่อ พ.ศ.849 ขณะนั้นหลินลู่อายุได้ 32 ปี ซือหม่าอ๋องเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นฮ่องเต้จิ้นไหวตี้ พระองค์ทรงพระปรีชาสามารถเฉลียวฉลาด โปรดเกล้าฯให้หลงเย่อ๋อง เป็นผู้สำเร็จราชการเมืองเจี้ยนเย่ (นานกิง) ข้างหลิวเอวียนหัวหน้าชนเผ่าซวงหนูตั้งตนเป้นเจ้าตั้งอาณาจักรฮั่น (จ้าว) ยกมาตีเมืองลั่วหยาง เผาเมืองเสียสิ้นแล้วจับฮ่องเต้จิ้นไหวตี้ไปเมืองจ้าว พระองค์เสด็จสวรรคตที่นั่น ฮ่องเต้จิ้นหมินตี้ เมื่อ พ.ศ.856 ขณะที่หลินลู่อายุได้ 39 ปี โปรดเกล้าฯให้หลงเย่อ๋องเป็น พระมหาอุปราช
หลงเย่อ๋องโปรดเกล้าฯให้เอวียนก้วนยกทัพไปตีเมืองปาถง ซึ่งมี โต้ทาว เป็นเจ้าเมือง หลินลู่ในฐานะนายทหารเข้าร่วมรบด้วย จนได้รับชัยชนะ หลงเย่อ๋องโปรดเกล้าฯให้บำเหน็จนายทหารเลื่อนยศตามความชอบ หลินลู่ได้เลื่อนยศเป็น นายพลจาวเอวี๋ยน
ข้างหลิวเอวียนยกทัพเข้าตีเมืองฉางอานแตก จับฮ่องเต้จิ้นหมิ่นตี้ไปเมืองจ้าว ในช่วงนั้นโปรดเกล้าฯให้มีรับสั่งถึงหลงเย๋อ๋องขอให้ยกตนเป็นฮ่องเต้เสียในฐานะพระมหาอุปราช แต่หลงเย่อ๋องขอเป็นเพียง จิ้นอ๋อง หลังจากเสด็จสวรรคตที่เมืองจ้าวแล้วหลงเย่อ๋องจึงเสด็จขึ้นครองราชย์เป็น ฮ่องเต้เอวียนตี้ เป็นปฐมราชวงศ์จิ้นตะวันออก เมื่อ พ.ศ.860 แล้วโปรดเกล้าฯให้สร้างพระราชวังขึ้นใหม่ที่เมืองเจี้ยนเย่ จึงย้ายเมืองหลวงจากเมืองซูโจวมายังเมืองเจี้ยนเย่ เปลี่ยนนามเมืองเป็น เจี้ยนคัง ขณะนั้นหลินลู่อายุได้ 43 ปี โปรดให้หลินลู่เข้ารับตำแหน่ง ส่านจี้ฉางซื่อ เป็นคณะกรรมการบริหารระดับสูง และยังโปรดเกล้าฯให้หลินลู่เป็นข้าหลวงเมืองเหอผู่ หรือ เหอผู่ไท่โส่ว อีกตำแหน่งหนึ่งด้วย

เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว

        เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวกำเนิดในครอบครัวของตระกูลลิ้ม มีนามว่า กอเหนี่ยวมีภูมิลำเนาเป็นชาวมณฑลฮกเกี้ยน เนื่องจากพี่ชายของเจ้าแม่ชื่อ ลิ้มเต้าเคียน (หรือลิ้มโต๊ะเคี่ยม) มีประวัติการต่อสู้อันโลดโผน ได้สร้างชื่อเสียงไว้ หนังสือภูมิประวัติเมืองแต้จิ๋วเล่มที่ 38 เรื่อง ชีวประวัติลิ้มเต้าเคี่ยมกล่าวว่าท่านมีพื้นเพเดิมเป็นชาวอำเภอฮุยไล้ แขวงเมืองแต้จิ๋ว จากการตรวจสอบหลักฐานที่เมืองแต้จิ๋วของนักโบราณคดี ปรากฏว่าที่หมู่บ้านเที้ยเพ็งตอนใต้ ยังมีฮวงซุ้ยบรรพบุรุษตระกูล
ลิ้มเต้าเคียนเป็นประจักษ์หลายหลักฐานอยู่ที่นั่น
ในรัฐสมัยพระเจ้าโอจงฮ่องเต้แห่งราชวงศ์เหม็ง (ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 2065-2109)
ยังมีครอบคัวตระกูลลิ้มอยู่ครอบครัวหนึ่งมีบุตร 2 คน บุตรชายชื่อ ลิ้มเต้าเคียน มีลักษณะท่าทางอันทระนง องอาจ ใจคอกว้างขวาง และมีสมัครพรรคพวกมาก ส่วนบุตรสาว มีนามว่า ลิ้มกอเหนี่ยว เป็นผู้มีอัธยาศัยอันดีงาม มีความกตัญญูต่อบิดามารดา และมีความกล้าหาญเด็ดเดี่ยว เมื่อเยาว์วัยทั้ง
2 คนพี่น้องได้ศึกษาเล่าเรียนศิลปะต่าง ๆจนแตกฉาน ลิ้มเต้าเคียนผู้พี่เป็นหนุ่มจึงได้สนองคุณบิดามารดาและเข้าสมัครเป็นราชการอำเภอ เมื่อสิ้นบุญบิดาแล้ว ลิ้มเต้าเคียนไปทำราชการอยู่ที่เมือง
จี่วจิว แขวงมณฑลฮกเกี่ยน น้องสาวลิ้มกอเหนี่ยวคอยเฝ้าปรนนิบัติมารดา ลิ้มเต้าเคียนมีอุปนิสัยรักความเป็นธรรม ชาวบ้านจั่วจิวต่างก็ให้ความนับถือรักใคร่ แต่เป็นที่อิจฉาและยำเกรงของเหล่า
ขุนนางกังฉินยิ่งนัก
ในรัชสมัยของพระเจ้าซื่อจงฮ่องเต้ ปรากฏว่ามีโจรสลัดชุกชุมที่ร้ายกาจนักก็คือโจรสลัดญี่ปุ่น ได้เที่ยวปล้นบ้านตีเมืองตามชายฝั่งทะเลของจีนอยู่เนืองนิจ สร้างความเดือดร้อนเป็นอันมาก โจรสลัดญี่ปุ่นได้ระดมกำลังเข้าโจมตีมณฑลจิเกียงอย่างแรง เมืองหลวงจึงได้แต่งตั้งขุนพลนามว่า เซ็กกีกวง เป็นแม่ทัพคุมทัพเรือไปทำการปราบปรามโจรสลัดญี่ปุ่น ลิ้มเต้าเคียนจึงถูกคู่อริผู้พยาบาทถือโอกาสใส่ความว่า ลิ้มเต้าเคียนได้สมคบกับโจรสลัดญี่ปุ่น มีการซ่องสุมกำลังผู้คน และอาวุธคิดจะทำการกบฏ ลิ้มเต้าเคียนคิดว่า การที่ตนมาถูกเขาปรักปรำกล่าวโทษฉกรรจ์เช่นนี้ ย่อมไม่มี
โอกาสหาทางแก้ตัวเพื่อแสดงความบริสุทธิ์ ลิ้มเต้าเคียนจึงได้ชักชวนเหล่าพรรคพวกของตนที่กระจัดกระจายแล้วพากันอพยพหลบภัย ด้วยการนำเรือ 30 ลำตีออกจากที่ล้อมของทหารหลวงโดยแล่นออกทะเลอย่างปลอดภัย ขบวนเรือได้บ่ายหน้าไปถึงเกาะไต้หวันเป็นแห่งแรก บางตำนานเล่าว่า ลิ้มเต้าเคียนเคยอาศัยอยู่ในกรุงศรีอยุธยา ต่อมาจึงได้มาตั้งรากฐานอยู่ที่เมืองปัตตานี ในจดหมายเหตุราชวงศ์เหม็ง เล่มที่ 323 บันทึกว่า ลิ้มเต้าเคียนได้หลบหนีการจับกุมไปอาศัยอยู่ที่เมืองปัตตานี มีท่าเรือเรียกว่า ท่าเรือเต้าเคียน ภายหลังลิ้มเต้าเคียนได้เข้ารีตนับถือศาสนาอิสลาม และได้ภรรยาซึ่งเป็นเชื้อพระวงศ์ของเจ้าเมืองปัตตานี เป็นที่โปรดปรานของเจ้าเมืองมาก ได้รับบรรดาศักดิ์เป็น
หัวหน้าด่านศุลกากร เก็บส่วยสาอากร
ลิ้มเต้าเคียนจากถิ่นฐานบ้านเดิมมาอาศัยอยู่ที่เมืองปัตตานีเป็นเวลาช้านาน ไม่ได้ส่งข่าวคราวไปให้มารดาและน้องสาวทราบ ทำให้มารดาซึ่งอู่ในวัยชรามากแล้วมีความห่วงใย ไม่รู้วาบุตรชายเป็นตายร้ายดีอย่างไร แล้วมารดาก็มักล้มป่วยอยู่เนืองๆ ลิ้มกอเหนี่ยวได้เฝ้าปรนนิบัติมารดาจนอาการป่วยหายเป็นปกติ ด้วยความกตัญญูกตเวที จึงได้ขออนุญาตจากมารดาขออาสาตามหาพี่ชายให้กลับบ้าน แต่มารดาไม่อนุญาต เพราะเกรงว่าการเดินทางจะได้รับความลำบากและเสี่ยงต่ออันตราย แต่ในที่สุด ทนต่อคำอ้อนวอนด้วยเหตุผลของลิ้มกอเหนี่ยวมิได้จึงยินยอม ลิ้มกอเหนี่ยวก็จัดสัมภาระเครื่องเดินทางเสร็จแล้วชักชวนญาติมิตรสนิทหลายคนไปด้วย ก่อนจากลิ้มกอเหนี่ยวได้ร่ำลามารดาด้วยสัจวาจาว่าหากแม้นพี่ชายไม่ยอมกลับไปหามารดาแล้วไซร้ ตนก็จะไม่ขอมีชีวิตอยู่อีกต่อไปพร้อมกับได้อวยพรให้มารดาจงมีความสุข และสั่งญาติพี่น้องให้ช่วยกันปรนนิบัติมารดา
ลิ้มกอเหนี่ยวกับญาตินำเรือออกเดินทางเป็นเวลาหลายเดือน จนกระทั่งถึงเขตเมืองปัตตานี ได้ทอดสมอจดเรื่อไว้ที่ริมฝั่ง ลิ้มกอเหนี่ยวกับพวกได้เดินทางเข้าไปในเมืองสอบถามชาวบ้านได้ความว่า ลิ้มเต้าเคียนยังมีชีวิตอยู่ ทั้งยังได้ดิบได้ดีเป็นใหญ่อยู่ที่นี่ ทุกคนต่างก็มีความปีติยินดีครั้นพบกับพี่ชายแล้ว ลิ้มกอเหนี่ยวก็เล่าความประสงค์ที่ได้ติดตามมาในครั้งนี้ว่า พี่ได้ทอดทิ้งมารดาและน้องสาว จากบ้านมาอยู่แดนไกลเสียเช่นนี้หาควรไม่ แม้นพี่กลับไปอยู่บ้านเดิมก็พอทำกินเป็นสุขได้อีก ทั้งทุกคนจะได้พร้อมหน้าอยู่ใกล้ชิดมารดา แต่ลิ้มเต้าเคียนคิดตรึกตรองแล้วว่า ถ้าหากกลับไปในขณะนี้ก็ยุ่งยากลำบากใจให้กับตนเอง เพราะทางราชการเมืองจีนยังไม่ประกาศอภัยโทษแก่ตน และฐานะความเป็นอยู่ของตนทางนี้ก็มีความสมบูรณ์พูนสุข จึงว่าแก่น้องสาวว่า พี่นั้นใช่จะเป็นผู้คิดเนรคุณทอดทิ้งมารดาและน้องสาว เพราะเหตุที่ได้ถูกทางราชการเมืองจึนกล่าวโทษว่าเป็นโจรสลัดอัปยศยิ่งนักจำต้องพลัดพรากหนีมาพึ่งพาอาศัยอยู่ที่นี่จนไม่มีโอกาสกลับไปทดแทนบุญคุณมารดาได้ อีกทั้งพี่อยู่ทางนี้ก็มีภารกิจมากมาย เพราะพี่ได้อาสาท่านเจ้าเมืองก่อสร้างมัสยิด จึงมิอาจรับคำ คิดจะกลับไปพร้อมน้องขณะนี้ได้ โปรดอภัยให้กับพี่เถิด ลิ้มเต้าเคียนก้จัดสิ่งของที่มีค่าเป็นอันมากเพื่อให้นำกลับปฝากมารดาและญาติพี่น้อง ลิ้มกอเหนี่ยวจึงขอพักอยู่ที่ปัตตานีชั่วคราว และคิดจะหาโอกาสอ้อนวอนพี่ชายกลับไปเมืองจีนต่อไป ขณะนั้นเจ้าเมืองปัตตานีได้ถึงแก่อนิจกรรมด้วย
โรคชราและไม่มีบุตรที่จะยกขึ้นให้ครองเมืองต่อ พวกศรีตวันกรมการจึงปรึกษาหารือกันว่าจะเลือกบุตรพระญาติวงศ์องค์ใดที่จะยกให้เป็นเจ้าเมือง แต่ยังไม่ทันจะดำเนินการ ก็เกิดเหตุการณ์กบฏแย่งอำนาจขึ้น ถึงกับรบพุ่งนองเลือดระหว่างพระญาติวงศ์ของเจ้าเมือง พวกกบฎนั้นได้เตรียมการไว้ล่วงหน้า ผิดกับฝ่ายเจ้าเมืองที่ไม่ระวังมาก่อนจึงมิอาจต่อต้านป้องกันได้ทันท่วงที ลิ้มเต้าเคียนกับเหล่าทหารผู้จงรักภักดีได้ต่อสู้กับพวกกบฎ ลิ้มกอเหนี่ยวประสบเหตุการณ์เข้าเช่นนี้ ด้วยความเป็นห่วงพี่ชายจะได้รับอันตราย จึงได้เสี่ยงชีวิตเข้าช่วยพี่ชายรบกับพวกกบฎอย่างห้าวหาญ ฝ่ายกบฎที่ซุ่มอยู่อีกทางหนี่งเห็นพวกลิ้มกอเหนี่ยวรุกไล่มาก็กรูกันออกมาล้อมตีสกัดไว้ ลิ้มกอเหนี่ยวก็ไม่คิดหวาดหวั่นถอยหนีพร้อมกับพวกเข้าต่อสู้อยู่ท่ามกลางวงล้อม ดังนั้นเวลาไม่นานนัก พรรคพวกก็ถูกฆ่าตายบาดเจ็บหลายคน ลิ้มกอเหนี่ยวเห็นว่าถ้าจะสู้รบกับพวกกบฎคงจะถูกฆ่าตายแน่
จึงตัดสินใจว่า ถึงตัวตายครั้งนี้ก็ให้ปรากฏชื่อไว้เป็นเกียรติแก่วงศ์ตระกูลลิ้ม ประกอบกับน้อยใจที่ไม่สามารถนำพี่ชายกลับเมืองจีนตามที่ได้รับปากกับมารดาไว้จึงได้ทำลายชีวิตของตนเอง ด้วยการผูกคอตายที่ต้นมะม่วงหิมพานต์
ลิ้มเต้าเคียนกับพวกต่างเศร้าโศกยิ่ง จึงพร้อมกันจัดการศพตามประเพณีอย่างสมเกียรติ ทำเป็นฮวงซุ้ย ปรากฏมาจนทุกวันนี้ ที่อยู่บ้านกรือเซะ ตำบลตันหยงลุโละ อำเภอเมืองปัตตานี ส่วนผู้ที่ติดตามมากับลิ้มกอเหนี่ยวในคร้งนั้นก็ไม่คิดจะกลับไปเมืองจีนอีก บรรดาคนจีนในสมัยนั้น ได้ทราบ ซึ้งถึงความกตัญญู ซื่อสัตย์ รักษาคำพูด คำมั่นสัญญาที่ได้ให้ไว้กับมารดาว่า ถ้าหากนำพี่ชายคือลิ้มเต้าเคียนกลับเมืองจีนไม่ได้ จะไม่ขอกลับเมืองจีนและยินดียอมตาย บรรดาคนจีนจึงได้เอา
กิ่งมะม่วงหิมพานต์ที่ลิ้มกอเหนี่ยวผูกคอตายมาแกะสลักเป็นรูปลิ้มกอเหนี่ยวและกราบไหว้บูชาจนถึงปัจจุบัน
ต่อมาเล่ากันว่า ลิ้มกอเหนี่ยวได้สำแดงอันปรากฎสิ่งศักดิ์สิทธ์เป็นที่ประจักษ์แก่ชาวเรือและประชาชนผู้สัญจรไปมาแถบถิ่นนั้นเสมอ จนเป็นที่เลื่องลือกันทั่วไป กิตติศัพท์อภินิหารของ
ลิ้มกอเหนี่ยวในเหตุให้ประชาชนผู้เลื่อมใสสละทรัพย์สินสร้างศาลขึ้นที่หมู่บ้านกรือเซะ และสร้างรูปจำลองเพื่อไว้สักการะโดยทำพิธีอัญเชิญวิญญาณมาสิงสถิตในรูปจำลองนั้น พร้อมกับขนานนามว่า เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวปรากฏว่ามีผู้คนหลั่งไหลไปกราบไหว้กันมากมาย ใครมีเรื่องเดือดร้อนก็ไปบนบานให้เจ้าแม่ช่วยเหลือ เมื่อบนบานแล้วต่างบังเกิดผลตามความปรารถนาแทบทุกคน จึงทำให้ความศักดิ์สิทธิ์ของเจ้าแม้ลิ้มกอเหน่ยวแผ่ไพศาลออกไปยังเมืองอื่นๆ

เปาบุ้นกง

                เปา เจิ่งถือกำเนิดขึ้นในครอบครัวนักวิชาการแห่งนครเหอเฟย์ มณฑลอานฮุย ที่ซึ่งในปัจจุบันประดิษฐานวัดเจ้าเปา (จีน: 包公祠; พินอิน: Bāogōngcí; คำอ่าน: เปากงฉือ) วัดดังกล่าวสถาปนาขึ้นใน พ.ศ. 1609 ใกล้กับสุสานของเปา เจิ่ง
เปา เจิ่งนั้นเมื่ออายุได้ยี่สิบเก้าปีได้เข้ารับการทดสอบหลวง และผ่านการทดสอบระดับสูงสุด ได้รับแต่งตั้งเป็นบัณฑิตเรียกว่า "จินฉื่อ" (พินอิน:
Jinshi) และต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงไคฟง อันเป็นเมืองหลวงแห่งประเทศจีนในสมัยราชวงศ์ซ้ง
ในสมัยที่ดำรงตำแหน่งหน้าที่ในราชการ เปา เจิ่งไม่ปรานีและประนีประนอมกับความทุจริตใด ๆ เลย เปา เจิ่งนั้นมีนิสัยรักและเทิดทูนความยุติธรรม ปฏิเสธที่จะเข้าถึงอำนาจหน้าที่โดยวิถีทางอันมิชอบ บุคคลผู้หนึ่งที่ชิงชังเปา เจิ่งนักได้แก่ราชครูผัง (จีน: 龐太師; พินอิน: Pángtàishī; คำอ่าน: ผังไท้ชือ) อย่างไรก็ดี ยังไม่ปรากฏข้อมูลทางประวัติศาสตร์ที่แน่ชัดรับรองว่าราชครูผังผู้นี้มีความชิงชังในเปา เจิ่งจริง นอกจากนี้ การปฏิบัติราชการโดยบริสุทธิ์ยุติธรรมอย่างไม่เห็นแก่หน้าผู้ใดยังทำให้เปา เจิ่งมีความขัดแย้งกับข้าราชการชั้นสูงบางกลุ่ม ซึ่งรวมถึงนายกรัฐมนตรีซ้งหยาง (พินอิน: Song Yang) เปา เจิ่งเคยสั่งลดขั้นตำแหน่งและปลดข้าราชการถึงสามสิบคนในคราเดียวกัน เหตุเพราะทุจริตต่อหน้าที่ราชการ รับและ/หรือติดสินบน และละทิ้งหน้าที่ราชการ กับทั้งเปา เจิ่งยังเคยกล่าวโทษจางเหยาจั๋ว (พินอิน: Zhang Yaozhuo) พระปิตุลาของพระวรชายา ถึงหกครั้ง อย่างไรก็ดี เนื่องจากความซื่อสัตย์และเฉียบขาดในการปฏิบัติหน้าที่ จนเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัย สมเด็จพระจักรพรรดิเหรินจงจึงมิได้พระราชทานราชทัณฑ์แก่เปา เจิ่งในอันที่ได้ล่วงเกินบุคคลสำคัญดังกล่าวนี้
เพื่อนร่วมงานและผู้สนับสนุนคนสำคัญคนหนึ่งของเปา เจิ่ง ได้แก่ อ๋องแปด (จีน: 八王爺; พินอิน: Bāwángyé; คำอ่าน: ปาหวังอี๋) ซึ่งเป็นพระมาตุลาในสมเด็จพระจักรพรรดิเหรินจง
เปา เจิ่งนั้น ถึงแม้รับราชการเป็นเวลากว่าสี่สิบห้าปี และมีตำแหน่งหลากหลายเริ่มตั้งแต่เป็นนายอำเภอ ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้ตรวจราชการแผ่นดิน ผู้ว่าราชการกรุง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นต้น แต่ผู้คนมักรู้จักเปา เจิ่งในด้านตุลาการ แม้ว่าความจริงแล้วเปา เจิ่งไม่ได้มีอาชีพเป็นตุลาการโดยตรงก็ตาม ความเด็ดเดี่ยวและกล้าตัดสินใจ ทำให้ผู้คนพากันยกย่องและคอยร้องทุกข์ต่อเปา เจิ่งเสมอ
เปา เจิ่งไม่เคยรับของขวัญใด ๆ เลยแม้จะเป็นชิ้นเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็ตาม เพื่อหลีกเลี่ยงคำครหาและความไม่เหมาะสมต่าง ๆ
เปา เจิ่งมีหลักในการปฏิบัติราชการว่า "จิตใจสะอาดบริสุทธิ์คือหลักแก้ไขปัญหามูลฐาน ความเที่ยงตรงเป็นหลักในการดำเนินชีวิต จงจดจำบทเรียนในประวัติศาสตร์ไว้ และอย่าให้คนรุ่นหลังเย้ยหยันได้"
ด้านความเป็นอยู่ส่วนตัวและอัธยาศัยนั้น ประวัติศาสตร์จีนบันทึกไว้ว่า เปา เจิ่งเป็นคนตรงไปตรงมา รังเกียจข้าราชการฉ้อราษฎร์บังหลวง และกดขี่ขูดรีดประชาชน แม้จะเกลียดคนเลวแต่ก็มิใช่เป็นคนดุร้าย เปา เจิ่งเป็นคนซื่อสัตย์และให้อภัยคนทำผิดโดยไม่เจตนา กับทั้งไม่เคยคบคนง่าย ๆ อย่างไร้หลักการ ไม่เสแสร้งทำหน้าชื่นและป้อนคำหวานเพื่อเอาใจคน มีชีวิตความเป็นอยู่อย่างเปิดเผย ไม่มีลับลมคมใน จึงไม่มีฝักไม่มีฝ่าย แม้ว่ายศฐาบรรดาศักดิ์สูงส่ง แต่เสื้อผ้า เครื่องใช้ เครื่องแต่งกาย และอาหารการกินก็ไม่ได้แตกต่างจากเมื่อครั้งยังเป็นสามัญชนเลย
การที่เปา เจิ่งได้รับยกย่องว่าเป็นประดุจเทพเจ้าแห่งความยุติธรรมทำให้ชาวจีนเชื่อว่า เปา เจิ่งนั้นกลางวันตัดสินคดีความในมนุษยโลก กลางคืนไปตัดสิ§ด้านความเป็นอยู่ส่วนตัวและอัธยาศัยนั้น ประวัติศาสตร์จีนบันทึกไว้ว่า เปา เจิ่งเป็นคนตรงไปตรงมา รังเกียจข้าราชการฉ้อราษฎร์บังหลวง และกดขี่ขูดรีดประชาชน แม้จะเกลียดคนเลวแต่ก็มิใช่เป็นคนดุร้าย เปา เจิ่งเป็นคนซื่อสัตย์และให้อภัยคนทำผิดโดยไม่เจตนา กับทั้งไม่เคยคบคนง่าย ๆ อย่างไร้หลักการ ไม่เสแสร้งทำหน้าชื่นและป้อนคำหวานเพื่อเอาใจคน มีชีวิตความเป็นอยู่อย่างเปิดเผย ไม่มีลับลมคมใน จึงไม่มีฝักไม่มีฝ่าย แม้ว่ายศฐาบรรดาศักดิ์สูงส่ง แต่เสื้อผ้า เครื่องใช้ เครื่องแต่งกาย และอาหารการกินก็ไม่ได้แตกต่างจากเมื่อครั้งยังเป็นสามัญชนเลย

การที่เปา เจิ่งได้รับยกย่องว่าเป็นประดุจเทพเจ้าแห่งความยุติธรรมทำให้ชาวจีนเชื่อว่า เปา เจิ่งนั้นกลางวันตัดสินคดีความในมนุษยโลก กลางคืนไปตัดสินคดีความในยมโลกชุดเครื่องประหารของเปา เจิ่ง รัฐบาลจีนได้จำลองขึ้นและจัดแสดงไว้ที่ศาลไคฟงในปัจจุบันในงิ้วตลอดจนในละครและภาพยนตร์ ผู้แสดงมักแสดงเป็นเปา เจิ่งโดยมีใบหน้าสีดำ และมีพระจันทร์เสี้ยวอันเป็นเครื่องหมายที่มีมาแต่กำเนิดประดิษฐานอยู่บนหน้าผาก กับทั้งเปา เจิ่งยังใช้เครื่องประหารเป็นชุดซึ่งได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระจักรพรรดิอีกด้วย โดยชุดเครื่องประหารประกอบด้วย เครื่องประหารหัวสุนัขสำหรับประหารอาชญากรที่เป็นสามัญชน เครื่องประหารหัวพยัคฆ์สำหรับอาชญากรที่เป็นข้าราชการและผู้มีบรรดาศักดิ์ และเครื่องประหารหัวมังกรสำหรับพระราชวงศ์ นอกจากนี้ เปา เจิ่งยังได้รับพระราชทานหวายทองคำจากสมเด็จพระจักรพรรดิพระองค์ก่อนโดยให้สามารถใช้เฆี่ยนตีสั่งสอนสมเด็จพระจักรพรรดิพระองค์ปัจจุบันได้ และกระบี่อาญาสิทธิ์โดยให้มีอาญาสิทธิ์สามารถประหารผู้ใดก็ได้นับแต่สามัญชนจนถึงเจ้าโดยไม่ต้องได้รับพระราชานุญาตก่อนตามธรรมเนียมปฏิบัติ แต่หลังจากประหารแล้วให้จัดทำรายงานกราบบังคมทูลทราบพระกรุณาด้วย เป็นที่มาของสำนวนจีนว่า "ฆ่าก่อน รายงานทีหลัง" (จีน: 先斬後奏; พินอิน: xiānzhǎnhòuzòu, เซียนฉ่านโฮ้วโจ้ว)ในวรรณกรรมจีนหลายเครื่อง ระบุถึงคดีสำคัญที่ได้รับการตัดสินโดยเปา เจิ่ง ดังต่อไปนี้

  รูปเคารพของเปา เจิ่ง ที่จังหวัดชลบุรี
                   คดีฉาเม่ย (จีน 鍘美; พินอิน: zháměi) : เปา เจิ่งได้ตัดสินประหารเฉินชื้อเม่ย
         (จีน: 陳世美; พินอิน:Chénshìměi) ผู้ทอดทิ้งภรรยาไปสมรสกับพระราชวงศ์จนได้รับพระราชทานยศเป็นพระราชบุตรเขย และต่อมาได้พยายามฆ่าภรรยาผู้นั้นเนื่องจากนำความไปร้องต่อศาลกรุงไคฟง ชื่อคดีนี้รู้จักกันทั่วไปจากละครโทรทัศน์ชุดเปาบุ้นจิ้นในชื่อ "คดีประหารราชบุตรเขย"
คดีหลีเมาฮ้วนไท้จี๋ (จีน: 貍貓換太子; พินอิน: límāohuàntàizǐ) : หรือคดีเกี่ยวกับการทำลายชื่อเสียงของพระวรชายาด้วยการลักลอบนำชะมดมาสับเปลี่ยนกับพระราชโอรสที่เพิ่งมีประสูติกาลและต่อไปจะได้ทรงเป็นมกุฎราชกุมาร คดีนี้มีขันทีชื่อกัวหวาย (จีน: 郭槐; พินอิน: Guōhuái) เป็นจำเลย ขันทีกัวหวายนั้นสนับสนุนงานของเปา เจิ่ง มาตลอดและเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยของสมเด็จพระจักรพรรดิ ทำให้กระบวนการสอบสวนเป็นไปได้โดยลำบาก เปา เจิ่งจึงปลอมตัวเป็นหยานหลัว (จีน: 阎罗; พินอิน:Yánluó; มัจจุราช) และจำลองยมโลกขึ้นเพื่อล่อลวงให้ขันทีรับสารภาพ ชื่อคดีนี้รู้จักกันทั่วไปจากละครโทรทัศน์ชุดเปา เจิ่ง ในชื่อ "คดีสับเปลี่ยนองค์ชาย"
เกียรติศัพท์และคดีของเปา เจิ่ง ได้รับการสร้างเป็นละครโทรทัศน์ยอดนิยมในปัจจุบันหลายครั้งหลายครา
อนึ่ง ได้มีการนำรูปเคารพที่เชื่อกันว่าสร้างขึ้นหลังจากเปา เจิ่ง ถึงแก่อนิจกรรมนั้นมาประดิษฐานในประเทศไทย โดยตั้งอยู่ที่อเนกกุศลศาลา ใกล้กับวัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี

เทพเอ้อหลาง

            เป็นเทพองค์หนึ่งของจีนตามความเชื่อในศาสนาพุทธ เรื่องราวของเทพเอ้อหลางมีการเล่าผ่านเรื่องราวในนิยาย 2 เรื่องที่เป็นที่รู้สึกกันเป็นอย่างดีคือ “ไซอิ๋ว” กับ “พงสาวดารห้องสิน” อีกทั้งยังมีกล่าวแยกถึงประวัติของเทพเอ้อหลางใน “ทำเนียบรวมเทพ” อีกด้วย เรื่องราวความเป็นมาของเทพเอ้อหลางจึงมีมากมายจากหลายที่มา จึงขอเล่าเรื่องราวของเทพเอ้อหลางในแบบที่ชาวจีนเขาเล่าสืบต่อกันมาโดยกล่าวรวมๆ จากทุกที่มาที่กล่าวมาข้างต้นดังนี้ เทพเอ้อหลางเป็นลูกชายคนที่สองของหลี่ปิงเสนาบดีแห่งราชวงศ์ฉิน ชื่อว่า เอ้อหลาง* (ในพงสาวดารห้องสินกล่าวว่า ชื่อเดิมของเทพเอ้อหลางคือ หยางเจี่ยน บิดาเป็นแซ่ หยาง) มารดาของเขาเป็นน้องสาวของเง็กเซียนฮ่องเต้ ผู้เป็นจักรพรรด์แห่งสวรรค์ นางได้หลบหนีสวรรค์ลงมาแต่งงานอยู่กินกับมนุษย์ที่โลกมนุษย์ เรื่องที่นางทำนั้นถือว่าเป็นการกระทำที่ผิดต่อกฎของสวรรค์ นางจึงถูกจับตัวไปคุมขังที่เขาเถาซานดังนั้น เทพเอ้อหลาง จึงเป็นหลานของเง็กเซียนฮ่องเต้ เขาเติบโตมาโดยไม่ทราบเรื่องราวของมารดา แต่พอทราบว่ามารดาถูกจับตัวไปขังไว้จึงไปช่วยมารดาด้วยการผ่าเขาเถาซานออกเป็นสองซีก ครั้นเง็กเซียนฮ่องเต้ทราบเรื่องจึงให้ทหารสวรรค์จับตัวมาลงโทษ เจียงจื่อหยา (ในพงศาวดารห้องสินกล่าวถึง เจียงจื่อหยา ว่าเป็นเป็นเทพบนสวรรค์ แต่ลงไปทำงานในโลกมนุษย์ โดยมีอยู่ในโลกมนุษย์ในฐานะกุนซือของจีฟา อ๋องแห่งรัฐอู่ และเจียงจื่อหยาผู้นี้คือ อาจารย์ผู้สอนสั่งเทพเอ้อหลางมาตั้งแต่เด็กๆ ) ผู้เป็นอาจารย์ ได้ร้องขอต่อองค์เง็กเซียนให้ลดโทษเป็นการให้เทพเอ้อหลางทำความดีชดใช้ความผิด เขาเพียรทำความดีนับแสนครั้ง เพื่อให้สวรรค์ปลดปล่อยมาดาของตนจากการคุมขัง ความดีครั้งใหญ่ครั้งหนึ่งที่เขาทำคือ การช่วยบิดาปราบมังกรที่อาศัยอยู่ในมหาสมุทร ยังผลให้อุทกภัยที่เหล่ามนุษย์ได้ประสบอยู่นั้นทุเลาลง ผู้คนที่ทราบข่าวจึงพากันเคารพกราบไหว้เขาประดุจเทพ และเมื่อเขาได้ทำความดีหลายต่อหลายอย่างมากยิ่งขึ้น มนุษย์จึงเรียกขานเขาในนาม “เทพเอ้อหลาง” ครั้นเมื่อได้เป็นเซียนอยู่บนสวรรค์แล้ว เทพเอ้อหลางจึงได้รับตำแหน่งเป็นแม่ทัพใหญ่แห่งสวรรค์ มีเซียนฝีมือดี 1,200 องค์ เป็นกองกำลัง มีอาวุธวิเศษคือ กระจกวิเศษส่องเห็นชาติกำเนิดเดิมและทวนสามแฉก อีกทั้งยังมีเห่าฟ้าซึ่งเป็นสุนัขสวรรค์เป็นสัตว์เลี้ยงคู่กาย ครั้งหนึ่งเกิดศึกใหญ่ของสวรรค์ก็ได้รับราชโองการจากองค์เง็กเซียนให้ไปปราบพญาลิงนาม “เห้งเจีย” (“เห้งเจีย” ก็คือ ซุนหงอคง ลูกศิษย์ของพระถังซำจั๋งนั่นล่ะ) ทั้งสองมีฝีมือพอฟัดพอเหวียงกันมาก ดูแล้วเหมือนไม่ค่อยจะชอบหน้ากันเสียเท่าไหร่ด้วย เพราะฝ่ายหนึ่งเคร่งขรึมซื่อตรงตามกฏสวรรค์ อีกฝ่ายเอาแต่ใจไหลไปเรื่อย แต่ทั้งสองฝ่ายเหมือนสำนวนหนึ่งว่า ไก่เห็นตีนงู-งูเห็นนมไก่ดูได้จากการต่อสู้ครั้งหนึ่งที่ เห้งเจียไม่มีสมาธิ เหาะหนีหัวซุกหัวซุนโดยแปลงร่างเป็นนกบ้าง ปลาบ้าง เป็นศาลเจ้าบ้าง สารพัดจะแปลงตัวหลอกตาเทพเอ้อหลางที่ตามมาจับกุม แต่เทพเอ้อที่มีตาวิเศษก็ใช้ตาที่สามส่องหาจนเจอได้ทุกครั้งไป และไม่ว่าเห้งเจียจะแปลงเป็นตัวอะไรก็ตามได้หมด สุดท้ายของการตามจับตัวนั้น เทพเอ้อหลางก็จับเห้งเจียมารับการลงโทษได้ในที่สุด ว่ากันว่า เทพเอ้อหลางจะแพ้เห้งเจียก็ตรงที่เขาสามารถแปลงกายได้ 72 อย่าง ส่วนหงอคงเขาแปลงกายได้ 73 อย่าง ต่างกันไปจุดเดียวนี่เอง ส่วนเห้งเจียที่โดนจับก็ไม่ใช่ว่าฝีมือด้อยกว่าเทพเอ้อหลาง แต่เพราะนิสัยชอบทำเป็นเล่นมากไปหน่อยเลยประมาทระหว่างการต่อสู้ จึงถูกจับได้ในศึกครั้งนั้น