วันจันทร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2554

กวนอู

เดิมเป็นชาวอำเภอไก่เหลียง ดินแดนฮอตั๋ง ชื่อเดิมคือเผิงเสียน ชื่อรองโซ่วฉาง รูปร่างสูงใหญ่ สง่างามน่าเกรงขามแก่ผู้พบเห็น มีกำเนิดในครอบครัวนักปราชญ์ เชี่ยวชาญด้านคัมภีร์พิชัยสงครามและคัมภีร์หลี่ซื่อชุนชิว เป็นนักโทษต้องคดีอาญาแผ่นดิน หลบหนีการจับกุมเร่รอนไปทั่วเป็นเวลา 6 ปีจนถึงด่านถงกวน นายด่านพบพิรุธจึงสอบถามชื่อแซ่ กวนอูตกใจจึงชี้ไปที่ชื่อด่านคือ "ถงกวน" ทำให้นายด่านเข้าใจว่ากวนอูนั้นแซ่กวน หลังจากนั้นเป็นต้นมากวนอูจึงเปลี่ยนจากชื่อเดิมคือเผิงเสียนเป็นกวนอูต่อมาได้พบเล่าปี่และเตียวหุยที่ตุ้นก้วนและร่วมสาบานเป็นพี่น้องกัน กวนอูได้ร่วมรบกับเล่าปี่ปราบโจรโพกผ้าเหลืองจนราบคาบในสมัยพระเจ้า แต่เล่าปี่กลับได้เพียงตำแหน่งนายอำเภออันห้อก้วน ภายหลังต๊กอิ้วซึ่งเป็นเจ้าเมืองออกตรวจราชการที่อำเภออันห้อก้วน เล่าปี่ไม่มีสินบนมอบให้จึงถูกใส่ความด้วยการเขียนฎีกาถวายพระเจ้าในข้อหากบฏ เตียวหุยโกรธจัดถึงกับพลั้งมือเฆี่ยนตีต๊กอิ้วจนเกือบเสียชีวิต ทำให้เล่าปี่ต้องหลบหนีจากการจับกุมของทางการพร้อมกับกวนอูและเตียวหุย
วีรกรรมของกวนอูนั้นมีมากมาย เริ่มจากการร่วมปราบปรามโจรโพกผ้าเหลืองร่วมกับทหารหลวงของพระเจ้า สังหาร
ฮัวหยงแม่ทัพของตั๋งโต๊ะโดยที่สุราคาราวะจากโจโฉยังอุ่น ๆ ปราบงันเหลียงและบุนทิวสองทหารเอกของอ้วนเสี้ยว บุกเดี่ยวพันลี้หนีจากโจโฉเพื่อหวนกลับคืนสู่เล่าปี่ด้วยคำสัตย์สาบานในสวนท้อ ทั้งที่โจโฉพยายามทุกวิถีทางเพื่อมัดใจกวนอูแต่ก็ไม่เป็นผลสำเร็จ ฝ่า 5 ด่าน สังหาร 6 ขุนพลของโจโฉ และในคราวศึกเซ็กเพ็กโจโฉแตกทัพหนีไปตามเส้นทางฮัวหยง กวนอูได้รับมอบหมายจากขงเบ้งให้นำกำลังทหารมาดักรอจับกุม โจโฉว่ากล่าวตักเตือนให้กวนอูระลึกถึงบุญคุณครั้งก่อนจนกวนอูใจอ่อนยอมปล่อยโจโฉหลุดรอดไป โดยยอมรับโทษประหารตามที่ได้ทำทัณฑ์บนไว้กับขงเบ้ง
เมื่อเล่าปี่สถาปนาตนเองเป็น
จักรพรรดิครองเสฉวน ได้ให้กวนอูไปกินตำแหน่งเป็นเจ้าเมืองเกงจิ๋วและแต่งตั้งให้เป็นหนึ่งในห้าทหารเสือของเล่าปี่ ภายหลังซุนกวนมอบหมายให้โลซกเจรจาขอเกงจิ๋วคืน กวนอูบุกเดี่ยวข้ามฟากไปกังตั๋งเพื่อกินโต๊ะตามคำเชิญโดยที่โลซกและทหารที่แอบซุ่มรอบ ๆ บริเวณไม่สามารถทำอันตรายได้ ภายหลังซุนกวนเป็นพันธมิตรกับโจโฉนำทัพโจมตีเกงจิ๋ว กวนอูพลาดท่าเสียทีแก่ลิบองและลกซุนสองแม่ทัพแห่งกังตั๋งจนเสียเกงจิ๋ว พยายามตีฝ่ากำลังทหารที่ล้อมเมืองเป๊กเสียเพื่อชิงเกงจิ๋วกลับคืนแต่โดนกลอุบายจับตัวไปได้ ซุนกวนพยายามเกลี้ยกล่อมให้กวนอูยอมจำนนและสวามิภักดิ์แต่ไม่สำเร็จ จึงถูกประหารพร้อมกับกวนเป๋งบุตรบุญธรรมในเดือนสิบสองของปี พ.ศ. 762
ศีรษะของกวนอูถูกซุนกวนส่งไปมอบให้แก่โจโฉที่ฮูโต๋ ซึ่งเป็นกลอุบายที่หมายจะหลอกให้เล่าปี่หลงเชื่อว่าโจโฉเป็นผู้สั่งประหารกวนอู และนำกำลังทหารไปทำศึกสงครามกับโจโฉแทน แต่โจโฉเท่าทันกลอุบายของซุนกวนจึงจัดงานศพให้แก่กวนอูอย่างสมเกียรติ นำไม้หอมมาต่อเป็นหีบใส่ศีรษะกวนอู แต่งเครื่องเซ่นไหว้ตามบรรดาศักดิ์ขุนนางผู้ใหญ่รวมทั้งสั่งการให้ทหารทั้งหมดแต่งกายขาวไว้ทุกข์ให้แก่กวนอู ยกย่องให้เป็น
อ๋องแห่งเกงจิ๋วและจารึกอักษรที่หลุมฝังศพว่า "ที่ฝังศพเจ้าเมืองเกงจิ๋ว" ศีรษะของกวนอูถูกฝังไว้ ณ ประตูเมืองลกเอี๋ยงหรือลัวหยางทางด้านทิศใต้

กิมท้ง

พระโพธิสัตว์ในรูปนั้นทรงอยู่ในปางประทานบุตร >ทรงอุ้มพระกุมาร(กิมท้ง)ไว้ในพระอุระ >พระกุมารดังกล่าวก็ถือลงในหมวดกิมท้งเช่นกัน( กิมท้ง >นั้นเป็นชื่อตำแหน่งของพระกุมารชาย กิมท้งแต่ละพระองค์จะทรงพระนามว่าอะไรนั้น >ผู้เขียนมีข้อมูลไม่เพียงพอ >ในจริยะเทวาอริยะฐานะของสายธรรมโซยที(สายธรรมของโกวเนี้ย) ได้กล่าวว่า >ทิพยวิมานได้แบ่งเทพเทวาเป็น 24 หมวด อาทิ เทวาหมวดอักษร(เจี้ยวฮว่า) >เทวาหมวดจริยะระเบียบ(หลี่กุย)เทวาทิพยบัลลังค์ เป็นต้นใน 24 หมวดนี้ >เทพเซียนต่างต้องรับผิดชอบในภาระหน้าที่ของตน >แต่หน้าที่บนพระวิมานนั้นหาได้มีเพราะเง็กเซียนเป็นผู้ประทานให้ >แต่เป็นเพราะการตั้งปณิธานของผู้บำเพ็ญปฏิบัติเองตั้งแต่ยังอยู่ในโลกมนุษย์ >เช่น ในตอนมีชีวิตอยู่ได้ตั้งปฌิธานเผยแพร่ธรรมะ แสดงวิถีทางแก่มหาชน >ครั้นเมื่อดับสังขารนี้ไป ก็ไปเสวยฐานะเป็นพระเทวาหมวดจริยะระเบียบ >คอยเป็นธรรมโฆษกเทพ ประกาศพระสัทธรรมบนทิพยวิมาน)> พระกุมารเทพอั๊งไห้ยี๊ (ภาษาจีนกลางออกเสียงว่า หงไหเอ๋อ) >หมายถึงพระกุมารแดง ทรงอาภรณ์สีแดง มีศาตราวุธประจำพระองค์คือ ทวนยาว >สามารถพ่นไฟที่มีอำนาจร้ายแรง มีของวิเศษได้แก่ >รองเท้าที่สามารถเหาะเหินเดินอากาศได้ อั๊งไห้ยี๊ >จัดเป็นพระกุมารที่คนรู้จักกันมากที่สุดพระองค์หนึ่งในกลุ่มพระกุมาร 6 >พระองค์ได้แก่ 1จินจา 2 มู่จา 3 นาจา 4 ซ่านไฉ 5 หลงหนี่ 6 หงไหเอ๋อ >พระกุมารเทพ 3 พระองค์แรกเสวยพระภาระตั้งแต่สมัยพระอริยะบุพมาตานึ่งออ >(นึ่งออเนี่ยเนี๊ย) สร้างโลก >พระกุมารซ่านไฉและหลงหนี่บังเกิดขึ้นในสมัยปลายราชวงศ์โจว >เป็นพระอุปัฏฐากพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ >ส่วนพระกุมารหงไหเอ๋อบังเกิดขึ้นจากตำนานการอัญเชิญพระตรัยปิฎกของพระถังซำจั๋ง> >ครั้งเมื่อราชวงศ์ถังได้รวบรวมแผ่นดินจงหยวน(ภาคกลางของจีน)ได้อย่างราบคาบ >พระจักรพรรดิ์ถังไท่จง(หลี่ซื่อหมิง)ทรงทำนุบำรุงประเทศชาติเป็นอย่างดี >กาลนั้นพระสมณเหี้ยนจั๊งผู้คงแก่เรียน >ได้ทำการศึกษาพระพุทธคัมภีย์จนแตกฉานในพระไตรปิฎก >แต่เนื่องจากเหตุการณ์สงครามเมื่อครั้งต้นพระราชวงศ์ >ทำให้วัดวาอารามพระคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาถูกเผาทำลายไปเป็นจำนวนมาก >พระสมณะเจ้าจึงมีดำริจะไปอัญเชิญพระพุทธคัมภีร์ยังอินเดียเพื่อหวังกลับมาเผยแพร่พระสัทธรรมของพระศาสดาเจ้าให้เวไนยสัตว์ได้รู้ตื่นพ้นจากห้วงทุกข์> >พระสมณะเจ้าเป็นพระภิกษุที่มาจากเมืองถังครั้นเมื่อเดินทางกลับมาได้แปลพระคัมภีร์จากภาษาสันสกฤตเป็นภาษาจีนมากมายจนได้พระสมณศักดิ์เป็นพระธรรมาจารย์ตรีปิฎก(ซำ >จั๊ง ฮวบ ซือ)ดังนั้นจึงขนานนามท่านว่า พระถังซำจั๋ง> นิทานเรื่องไซอิ๋วนั้นแต่งขึ้นในสมัยราชวงศ์หมิง >ซึ่งมีระยะเวลาห่างไกลจากราชวงศ์ถังหลายร้อยปี ในไซอิ๋วกล่าวว่า> ครั้นพระสมณะเหี้ยนจั้ง(พระถัง)เดินทางไปอัญเชิญพระไตรปิฎก >ไปพบภูเขาไฟใหญ่กีดขวางทางอยู่ด้านหน้า >ซึงหงอคงจึงรับอาศาไปขอยืมพัดเหล็กจากองค์หญิงพัดเหล็ก >เหตุนี้เองจึงทำให้เกิดตำนานอั๊งไห้ยี้> อั๊งไห้ยี๊ เป็นบุตรของอ๋องกระทิงและองค์หญิงพัดเหล็ก >เมื่อครั้งที่มารดาตั้งท้องได้ไปขอพระบุตรจากพระโพธิสัตว์กวนอิม >พระกวนอิมโพธิสัตว์เห็นว่าเธอตั้งใจรักษาศีลกินเจ >จึงได้ประทานพระกุมารน้อยให้บังเกิดในครรภ์ขององค์หญิงพัดเหล็กนั่นเอง >ครั้นเมื่อเติบโตขึ้น >มีอิทธิปาฏิหาริ์ย์ใช้รองเท้าขิงบิดาเดินน้ำเหาะทยานในอากาศ >สามารถพ่นไฟที่ทรงพลานุภาพ มีอาวุธคือทวนยาว >แต่อาภัพเพราะบิดาไปมีภรรยาน้อยหลายคนจึงกลายเป็นเด็กมีปัญหา >ต่อมาได้คบเพื่อนเลวและถูกยุยงให้ไปฆ่าพระถังมาเพื่อบริโภค >พระโพธิสัตว์กวนอิมได้มอบฐานบัววิเศษให้หงอคงนำไปจับตัวอั๊งไห้ยี้ >ผลสุดท้ายอั๊งไห้ยี๊ถูกจับตัวและพระถังได้เทศนาจนกลับใจ >ส่วนเพื่อนเลวก็ถูกอานุภาพแห่งพระสูตรที่ชื่อว่า ปรัชญาปารมิตาสูตร >ครั้นเมื่อพระถังพร้อมลูกศิษย์ร่วมกันภาวนาพระสูตรดังกล่าวเพื่อนมารก็ถึงที่ตาย >อั๊งไห้ยี้ตั้งใจสำนึกตัวด้วยความผิดที่ฆ่าประชาชนตายไปในศึกที่สู้กับหงอคง >จึงตั้งปณิธานไปบำเพ็ญตัวที่ภูเขาโพ่วท้อซันซึ่งเป็นพระพุทธบรรพตที่พระโพธิสัตว์กวนอิมพำนักอยู่ >อั๊งไห้ยี๊เดินทางจากบ้านด้วยวิธี ซาน ขู่ อิ๊ ป่าย(เดิน 3 ก้าวกราบ 1 กราบ ) >ระหว่างเดินไปกราบไปก็ภาวนา นำมอกวนซืออิมผู่สักด้วย จนไปถึงภูเขา >ตำนานไท้จื้อกราบกวนอิมก้อกำเนิดมาจากตำนานนี้นี่เอง>

ปุ่นเถ่ากง

 เป็นชื่อที่เรียกตามภาษาจีนแต้จิ๋ว ส่วนจีนกลางเรียกว่า เปิ่นโถวกง เป็นเทพเจ้าที่พบใน เมืองไทย ฟิลิปปินส์ และที่ ปีนัง เท่านั้น
เปิ่นโถวกง และ ต้าเป๋อกง เป็นเทพองค์เดียวกัน เป็นเทพที่นักเดินเรือ ในสมัยราชวงศ์ซ่ง (ซ้อง) กราบไหว้กัน โดยมีชื่อเดิมว่า โตวกงแต่ที่ปีนังชาวพื้นเมืองเรียกเทพองค์นี้ว่าเปิ่นโถวกงฟิลิปปินส์เรียกเทพองค์นี้ว่า เปิ่นโถวกัง ชื่อดังกล่าวเป็นเพียงตำแหน่ง เทพผู้ดำรงตำแหน่งนี้ จะแตกต่างกันไปตามบุคคล เวลา และสถานที่ ผู้ดำรงตำแหน่งนี้ จะเป็นใครไม่อาจจะทราบได้ หรืออาจจะเป็นเพียงสัญลักษณ์ ของบรรพบุรุษ ของชาวจีน โพ้นทะเลเท่านั้น ก็ได้ คำว่า เปิ่นโถว ซึ่งหมายถึง เปิ่นตี้ หรือที่ดั้งเดิม หรือ โถวมู่ ซึ่งแปลว่าหัวหน้าในสถานที่นั้น ๆ บางคนเรียกย่อ ๆ ว่า ตี้โถว ในสมัยก่อนเมื่อผู้เป็นใหญ่ในเขตนั้น ๆ หรือผู้นำในเขตอื่นๆ ได้ทำคุณประโยชน์ ให้แก่เขตปกครองมากมาย เมื่อตายไปแล้ว ก็ถูกยกย่องให้เป็นเทพ จึงเรียกว่าเปิ่นโถวกง ซึ่งหมายความว่า ผู้เป็นใหญ่แห่งเขตนั้นๆ
หน้าที่รับผิดชอบ
คนที่มีที่ทางเยอะๆ จะมากราบไหว้เพื่อให้ท่านปกปักรักษาที่ดิน ดูแลที่ดิน หรืออาณาบริเวณ คอยปกป้อง คุ้มครองคนในบ้าน ให้ร่มเย็นเป็นสุขและปลอดภัย ในตลาดสดทั้งหลาย ส่วนมากจะตั้งเทพเปิ่นโถวกงไว ้เป็นเทพประธาน หากไม่ตั้งเปิ่นโถวกงไว้เป็นเทพประธานในศาล ก็ต้องตั้งเป็นเทพชั้นรอง เพื่อจะได้ช่วยปกป้อง ความร่มเย็น และการค้าเจริญรุ่งเรือง

เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย
คนจีนฮกเกี้ยนมักจะอัญเชิญท่านไว้ที่หิ้งเพื่อกราบไหว้ ส่วนคนจีนแต้จิ๋วจะนิยมอัญเชิญท่านไว้ที่หิ้งบนพื้น เพราะถือว่า ท่านเป็นเทพเจ้าที่ ในการบูชาเจ้าที่ของแต่ละบ้าน อาจมีรายละเอียดต่างกันนิดหน่อยแล้วแต่คนนิยม เช่น บางบ้านนิยมบูชาดอกไม้สด มาลัย บางบ้านต้องมีต้นกวนอิม ปักแจกันไว้ประจำ ที่กระถางธูปนิยมมีกิมฮวย (จินฮวา ) ประดับ แต่ในกระถางธูปบางบ้านนิยมใส่ทรายหรือข้าวสารที่กระถางธูป บางบ้านใส่เป็นโหงวเจ้งจี้ (อู่จ่งจือ ) หรือ เมล็ดทั้งห้า คือข้าวเปลือก ข้าวสาร ข้าวเหนียวแดง เมล็ดถั่วเขียว เมล็ดถั่วแดง
นอกจากนี้ ก็อาจมีของบูชาที่มีความหมายเป็นมงคล เช่น ฟักทอง ฟักเงิน สับปะรด เงิน ทอง ฯลฯ แล้วก็มีของสดบูชา เช่น น้ำชา 5 ที่ เหล้าขาว 5 ที่ มะพร้าวอ่อน ส้ม บางบ้านไหว้ธูป 5 ดอก ลึกๆ แล้วการบูชาเจ้าที่คือการไหว้ธาตุทั้งห้า คือ ธาตุทอง ดิน ไม้ น้ำ ไฟ
ปางหรือลักษณะรูปเคารพ
รูปเคารพของเทพ ปุนเถ่ากง หรือ ปุนเถ่าม่า เทพองค์นี้มีลักษณะของรูปเคารพ ที่ไม่เหมือนกัน ในทุกศาลเจ้า เช่นมีทั้งที่แต่งกาย แบบขุนนางฝ่ายบุ๋น บ้างก็แต่งกายแบบขุนนางฝ่ายบู๊ มีหนวด มือขวาถือหลู่ยี่ มือซ้ายถือก้อนทอง เป็นต้น 

องค์หลิมฮู้ไท้ซู่

             หลิมฮู่ไท่ซู หรือ หลินโหวไท่โส่ว หรือ จิ้นอันอ๋อง เป็นเทพองค์หนึ่งที่รู้จักกันดี เดิมชื่อ ลู่ (ลก) แซ่หลิน (หลิม) บิดาชื่อ หลินอิ่ง มารดาชื่อ ปิ่นซื่อ บิดาไปรับราชการที่เมืองจีหนาน (ซานตง) ได้ให้กำเนิดบุตรชายสองคน คนพี่ชื่อ หลินมู่ (หลิมมก) ถือกำเนิดเมื่อ พ.ศ.815 คนน้องชื่อ หลินลู่ ถือกำเนิดเมื่อวันที่ 3 ค่ำ เดือน 4 (บางตำนานถือเอา วันที่ 1 ค่ำ เดือน 1) ตามจันทรคติ เป็นปีไท่สื่อที่ 10 รัชสมัยฮ่องเต้จิ้นอู่ตี้ (ซือหมาเอี๋ยน) แห่งราชวงศ์จิ้นตะวันตก เมื่อ พ.ศ.817 และสืบลำดับแซ่หลินจากปิเจียนกง ผู้เป็นต้นแซ่หลินเป็นรุ่นที่ 69 ต่อมาบิดาย้ายมารับราชการที่เมืองซูโจว และเมื่อ พ.ศ.820 โปรดเกล้าฯให้ย้ายเมืองหลวงลั่วหยาง เพื่อรับตำแหน่งหวงเหมินซื่อหลาง นายทหารรักษาพระองค์ ส่วนหลินลู่เข้ารับราชการทหารเมื่ออายุได้ 16 ปีในหลงเย่อ๋อง (ซือหม่าลุ่ยอ๋อง ประสูติ พ.ศ.819 โอรสฮ่องเต้จิ้นอู่ตี้) จนกระทั่ง พ.ศ.833 ฮ่องเต้จิ้นฮู้ตี้เสด็จสวรรคต ซือหม่าจงอ๋องเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นฮ่องเต้จิ้นฮุยตี้
สภาพบ้านเมืองหลังยุคสามก๊กสงบไปได้หน่อยหนึ่งในสมัยจิ้นอู่ตี้ แต่หลังจากนั้น พวกแซ่ซือหม่าอ๋องที่เป็นข้าหลวงอยู่หัวเมืองและภายในเมืองหลวงต่างแย่งกันเป็นใหญ่ นอกจากนี้พวกชนเผ่าทางภาคเหนือที่เรียกว่า พวกอู่หู อพยพเข้าภาคกลางลงไปทางภาคใต้เป็นล้านคน บ้านเมืองวุ่นวายเพราะหัวหน้าชนเผ่าเป็นขบถ ต่างยกตนเป็นอ๋องสร้างอาณาจักรด้วยการตีเมืองที่อ่อนแอกว่า ในเมืองหลวงพวกราชสกุลซือหม่าต่างฆ่าฟันกันเองระหว่างญาติ หลงเย่อ๋องจึงตัดสินใจอพยพไปสมทบกับซือหม่าอุยซึ่งเป็นตงไห่อ๋อง ที่ภูเขาจิ่วหลงซาน แล้วอพยพไปตั้งหลักที่เมืองซูโจว หลงเย่อ๋องโปรดเกล้าฯแต่งตั้งให้หลินลู่ดำรงตำแหน่ง หวงเหมินซื่อหลาง นายทหารรักษาพระองค์
ข้างพวกซือหม่าอ๋องยกทัพเข้าเมืองลั่วหยาง จนฮ่องเต้จิ้นสุ่ยตี้เสด็จหนีไปประทับที่เมืองฉางอาน ตงไห่อ๋องและหลงเย่อ๋องต้องยกทัพจากเมืองซูโจวไปปราบพวกอ๋องและนายพลที่คุมฮ่องเต้อยู่ แล้วเชิญเสด็จให้ไปประทับที่ลั่วหยางตามเดิม หลินลู่ได้ตามเสด็จหลงเย่อ๋องเข้าร่วมรบด้วย เมื่อจัดการบ้านเมืองเรียบร้อยแล้ว หลงเย่อ๋องพร้อมด้วยหลินลู่กลับสู่เมืองซูโจว
หลินลู่ได้ภรรยาชื่อ จางซ่อ มีบุตรชาย 5 คน เมื่อเติบใหญ่ต่างเข้ารับราชการมีชื่อเสียงเป็นที่กล่าวขานทั่วไปว่าห้าอาชารุ่งโรจน์ทางใต้ของฝั่งแม่น้ำแยงซีเกียง
ส่วนตงไห่อ๋องไม่พอใจที่ฮ่องเต้จิ้นสุ่ยตี้โปรดเกล้าให้ซือหม่าทั้ง 5 องค์เข้ามารับราชการในเมืองหลวง จึงลอบปลงพระชนม์เสด็จสวรรคตเมื่อ พ.ศ.849 ขณะนั้นหลินลู่อายุได้ 32 ปี ซือหม่าอ๋องเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นฮ่องเต้จิ้นไหวตี้ พระองค์ทรงพระปรีชาสามารถเฉลียวฉลาด โปรดเกล้าฯให้หลงเย่อ๋อง เป็นผู้สำเร็จราชการเมืองเจี้ยนเย่ (นานกิง) ข้างหลิวเอวียนหัวหน้าชนเผ่าซวงหนูตั้งตนเป้นเจ้าตั้งอาณาจักรฮั่น (จ้าว) ยกมาตีเมืองลั่วหยาง เผาเมืองเสียสิ้นแล้วจับฮ่องเต้จิ้นไหวตี้ไปเมืองจ้าว พระองค์เสด็จสวรรคตที่นั่น ฮ่องเต้จิ้นหมินตี้ เมื่อ พ.ศ.856 ขณะที่หลินลู่อายุได้ 39 ปี โปรดเกล้าฯให้หลงเย่อ๋องเป็น พระมหาอุปราช
หลงเย่อ๋องโปรดเกล้าฯให้เอวียนก้วนยกทัพไปตีเมืองปาถง ซึ่งมี โต้ทาว เป็นเจ้าเมือง หลินลู่ในฐานะนายทหารเข้าร่วมรบด้วย จนได้รับชัยชนะ หลงเย่อ๋องโปรดเกล้าฯให้บำเหน็จนายทหารเลื่อนยศตามความชอบ หลินลู่ได้เลื่อนยศเป็น นายพลจาวเอวี๋ยน
ข้างหลิวเอวียนยกทัพเข้าตีเมืองฉางอานแตก จับฮ่องเต้จิ้นหมิ่นตี้ไปเมืองจ้าว ในช่วงนั้นโปรดเกล้าฯให้มีรับสั่งถึงหลงเย๋อ๋องขอให้ยกตนเป็นฮ่องเต้เสียในฐานะพระมหาอุปราช แต่หลงเย่อ๋องขอเป็นเพียง จิ้นอ๋อง หลังจากเสด็จสวรรคตที่เมืองจ้าวแล้วหลงเย่อ๋องจึงเสด็จขึ้นครองราชย์เป็น ฮ่องเต้เอวียนตี้ เป็นปฐมราชวงศ์จิ้นตะวันออก เมื่อ พ.ศ.860 แล้วโปรดเกล้าฯให้สร้างพระราชวังขึ้นใหม่ที่เมืองเจี้ยนเย่ จึงย้ายเมืองหลวงจากเมืองซูโจวมายังเมืองเจี้ยนเย่ เปลี่ยนนามเมืองเป็น เจี้ยนคัง ขณะนั้นหลินลู่อายุได้ 43 ปี โปรดให้หลินลู่เข้ารับตำแหน่ง ส่านจี้ฉางซื่อ เป็นคณะกรรมการบริหารระดับสูง และยังโปรดเกล้าฯให้หลินลู่เป็นข้าหลวงเมืองเหอผู่ หรือ เหอผู่ไท่โส่ว อีกตำแหน่งหนึ่งด้วย

เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว

        เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวกำเนิดในครอบครัวของตระกูลลิ้ม มีนามว่า กอเหนี่ยวมีภูมิลำเนาเป็นชาวมณฑลฮกเกี้ยน เนื่องจากพี่ชายของเจ้าแม่ชื่อ ลิ้มเต้าเคียน (หรือลิ้มโต๊ะเคี่ยม) มีประวัติการต่อสู้อันโลดโผน ได้สร้างชื่อเสียงไว้ หนังสือภูมิประวัติเมืองแต้จิ๋วเล่มที่ 38 เรื่อง ชีวประวัติลิ้มเต้าเคี่ยมกล่าวว่าท่านมีพื้นเพเดิมเป็นชาวอำเภอฮุยไล้ แขวงเมืองแต้จิ๋ว จากการตรวจสอบหลักฐานที่เมืองแต้จิ๋วของนักโบราณคดี ปรากฏว่าที่หมู่บ้านเที้ยเพ็งตอนใต้ ยังมีฮวงซุ้ยบรรพบุรุษตระกูล
ลิ้มเต้าเคียนเป็นประจักษ์หลายหลักฐานอยู่ที่นั่น
ในรัฐสมัยพระเจ้าโอจงฮ่องเต้แห่งราชวงศ์เหม็ง (ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 2065-2109)
ยังมีครอบคัวตระกูลลิ้มอยู่ครอบครัวหนึ่งมีบุตร 2 คน บุตรชายชื่อ ลิ้มเต้าเคียน มีลักษณะท่าทางอันทระนง องอาจ ใจคอกว้างขวาง และมีสมัครพรรคพวกมาก ส่วนบุตรสาว มีนามว่า ลิ้มกอเหนี่ยว เป็นผู้มีอัธยาศัยอันดีงาม มีความกตัญญูต่อบิดามารดา และมีความกล้าหาญเด็ดเดี่ยว เมื่อเยาว์วัยทั้ง
2 คนพี่น้องได้ศึกษาเล่าเรียนศิลปะต่าง ๆจนแตกฉาน ลิ้มเต้าเคียนผู้พี่เป็นหนุ่มจึงได้สนองคุณบิดามารดาและเข้าสมัครเป็นราชการอำเภอ เมื่อสิ้นบุญบิดาแล้ว ลิ้มเต้าเคียนไปทำราชการอยู่ที่เมือง
จี่วจิว แขวงมณฑลฮกเกี่ยน น้องสาวลิ้มกอเหนี่ยวคอยเฝ้าปรนนิบัติมารดา ลิ้มเต้าเคียนมีอุปนิสัยรักความเป็นธรรม ชาวบ้านจั่วจิวต่างก็ให้ความนับถือรักใคร่ แต่เป็นที่อิจฉาและยำเกรงของเหล่า
ขุนนางกังฉินยิ่งนัก
ในรัชสมัยของพระเจ้าซื่อจงฮ่องเต้ ปรากฏว่ามีโจรสลัดชุกชุมที่ร้ายกาจนักก็คือโจรสลัดญี่ปุ่น ได้เที่ยวปล้นบ้านตีเมืองตามชายฝั่งทะเลของจีนอยู่เนืองนิจ สร้างความเดือดร้อนเป็นอันมาก โจรสลัดญี่ปุ่นได้ระดมกำลังเข้าโจมตีมณฑลจิเกียงอย่างแรง เมืองหลวงจึงได้แต่งตั้งขุนพลนามว่า เซ็กกีกวง เป็นแม่ทัพคุมทัพเรือไปทำการปราบปรามโจรสลัดญี่ปุ่น ลิ้มเต้าเคียนจึงถูกคู่อริผู้พยาบาทถือโอกาสใส่ความว่า ลิ้มเต้าเคียนได้สมคบกับโจรสลัดญี่ปุ่น มีการซ่องสุมกำลังผู้คน และอาวุธคิดจะทำการกบฏ ลิ้มเต้าเคียนคิดว่า การที่ตนมาถูกเขาปรักปรำกล่าวโทษฉกรรจ์เช่นนี้ ย่อมไม่มี
โอกาสหาทางแก้ตัวเพื่อแสดงความบริสุทธิ์ ลิ้มเต้าเคียนจึงได้ชักชวนเหล่าพรรคพวกของตนที่กระจัดกระจายแล้วพากันอพยพหลบภัย ด้วยการนำเรือ 30 ลำตีออกจากที่ล้อมของทหารหลวงโดยแล่นออกทะเลอย่างปลอดภัย ขบวนเรือได้บ่ายหน้าไปถึงเกาะไต้หวันเป็นแห่งแรก บางตำนานเล่าว่า ลิ้มเต้าเคียนเคยอาศัยอยู่ในกรุงศรีอยุธยา ต่อมาจึงได้มาตั้งรากฐานอยู่ที่เมืองปัตตานี ในจดหมายเหตุราชวงศ์เหม็ง เล่มที่ 323 บันทึกว่า ลิ้มเต้าเคียนได้หลบหนีการจับกุมไปอาศัยอยู่ที่เมืองปัตตานี มีท่าเรือเรียกว่า ท่าเรือเต้าเคียน ภายหลังลิ้มเต้าเคียนได้เข้ารีตนับถือศาสนาอิสลาม และได้ภรรยาซึ่งเป็นเชื้อพระวงศ์ของเจ้าเมืองปัตตานี เป็นที่โปรดปรานของเจ้าเมืองมาก ได้รับบรรดาศักดิ์เป็น
หัวหน้าด่านศุลกากร เก็บส่วยสาอากร
ลิ้มเต้าเคียนจากถิ่นฐานบ้านเดิมมาอาศัยอยู่ที่เมืองปัตตานีเป็นเวลาช้านาน ไม่ได้ส่งข่าวคราวไปให้มารดาและน้องสาวทราบ ทำให้มารดาซึ่งอู่ในวัยชรามากแล้วมีความห่วงใย ไม่รู้วาบุตรชายเป็นตายร้ายดีอย่างไร แล้วมารดาก็มักล้มป่วยอยู่เนืองๆ ลิ้มกอเหนี่ยวได้เฝ้าปรนนิบัติมารดาจนอาการป่วยหายเป็นปกติ ด้วยความกตัญญูกตเวที จึงได้ขออนุญาตจากมารดาขออาสาตามหาพี่ชายให้กลับบ้าน แต่มารดาไม่อนุญาต เพราะเกรงว่าการเดินทางจะได้รับความลำบากและเสี่ยงต่ออันตราย แต่ในที่สุด ทนต่อคำอ้อนวอนด้วยเหตุผลของลิ้มกอเหนี่ยวมิได้จึงยินยอม ลิ้มกอเหนี่ยวก็จัดสัมภาระเครื่องเดินทางเสร็จแล้วชักชวนญาติมิตรสนิทหลายคนไปด้วย ก่อนจากลิ้มกอเหนี่ยวได้ร่ำลามารดาด้วยสัจวาจาว่าหากแม้นพี่ชายไม่ยอมกลับไปหามารดาแล้วไซร้ ตนก็จะไม่ขอมีชีวิตอยู่อีกต่อไปพร้อมกับได้อวยพรให้มารดาจงมีความสุข และสั่งญาติพี่น้องให้ช่วยกันปรนนิบัติมารดา
ลิ้มกอเหนี่ยวกับญาตินำเรือออกเดินทางเป็นเวลาหลายเดือน จนกระทั่งถึงเขตเมืองปัตตานี ได้ทอดสมอจดเรื่อไว้ที่ริมฝั่ง ลิ้มกอเหนี่ยวกับพวกได้เดินทางเข้าไปในเมืองสอบถามชาวบ้านได้ความว่า ลิ้มเต้าเคียนยังมีชีวิตอยู่ ทั้งยังได้ดิบได้ดีเป็นใหญ่อยู่ที่นี่ ทุกคนต่างก็มีความปีติยินดีครั้นพบกับพี่ชายแล้ว ลิ้มกอเหนี่ยวก็เล่าความประสงค์ที่ได้ติดตามมาในครั้งนี้ว่า พี่ได้ทอดทิ้งมารดาและน้องสาว จากบ้านมาอยู่แดนไกลเสียเช่นนี้หาควรไม่ แม้นพี่กลับไปอยู่บ้านเดิมก็พอทำกินเป็นสุขได้อีก ทั้งทุกคนจะได้พร้อมหน้าอยู่ใกล้ชิดมารดา แต่ลิ้มเต้าเคียนคิดตรึกตรองแล้วว่า ถ้าหากกลับไปในขณะนี้ก็ยุ่งยากลำบากใจให้กับตนเอง เพราะทางราชการเมืองจีนยังไม่ประกาศอภัยโทษแก่ตน และฐานะความเป็นอยู่ของตนทางนี้ก็มีความสมบูรณ์พูนสุข จึงว่าแก่น้องสาวว่า พี่นั้นใช่จะเป็นผู้คิดเนรคุณทอดทิ้งมารดาและน้องสาว เพราะเหตุที่ได้ถูกทางราชการเมืองจึนกล่าวโทษว่าเป็นโจรสลัดอัปยศยิ่งนักจำต้องพลัดพรากหนีมาพึ่งพาอาศัยอยู่ที่นี่จนไม่มีโอกาสกลับไปทดแทนบุญคุณมารดาได้ อีกทั้งพี่อยู่ทางนี้ก็มีภารกิจมากมาย เพราะพี่ได้อาสาท่านเจ้าเมืองก่อสร้างมัสยิด จึงมิอาจรับคำ คิดจะกลับไปพร้อมน้องขณะนี้ได้ โปรดอภัยให้กับพี่เถิด ลิ้มเต้าเคียนก้จัดสิ่งของที่มีค่าเป็นอันมากเพื่อให้นำกลับปฝากมารดาและญาติพี่น้อง ลิ้มกอเหนี่ยวจึงขอพักอยู่ที่ปัตตานีชั่วคราว และคิดจะหาโอกาสอ้อนวอนพี่ชายกลับไปเมืองจีนต่อไป ขณะนั้นเจ้าเมืองปัตตานีได้ถึงแก่อนิจกรรมด้วย
โรคชราและไม่มีบุตรที่จะยกขึ้นให้ครองเมืองต่อ พวกศรีตวันกรมการจึงปรึกษาหารือกันว่าจะเลือกบุตรพระญาติวงศ์องค์ใดที่จะยกให้เป็นเจ้าเมือง แต่ยังไม่ทันจะดำเนินการ ก็เกิดเหตุการณ์กบฏแย่งอำนาจขึ้น ถึงกับรบพุ่งนองเลือดระหว่างพระญาติวงศ์ของเจ้าเมือง พวกกบฎนั้นได้เตรียมการไว้ล่วงหน้า ผิดกับฝ่ายเจ้าเมืองที่ไม่ระวังมาก่อนจึงมิอาจต่อต้านป้องกันได้ทันท่วงที ลิ้มเต้าเคียนกับเหล่าทหารผู้จงรักภักดีได้ต่อสู้กับพวกกบฎ ลิ้มกอเหนี่ยวประสบเหตุการณ์เข้าเช่นนี้ ด้วยความเป็นห่วงพี่ชายจะได้รับอันตราย จึงได้เสี่ยงชีวิตเข้าช่วยพี่ชายรบกับพวกกบฎอย่างห้าวหาญ ฝ่ายกบฎที่ซุ่มอยู่อีกทางหนี่งเห็นพวกลิ้มกอเหนี่ยวรุกไล่มาก็กรูกันออกมาล้อมตีสกัดไว้ ลิ้มกอเหนี่ยวก็ไม่คิดหวาดหวั่นถอยหนีพร้อมกับพวกเข้าต่อสู้อยู่ท่ามกลางวงล้อม ดังนั้นเวลาไม่นานนัก พรรคพวกก็ถูกฆ่าตายบาดเจ็บหลายคน ลิ้มกอเหนี่ยวเห็นว่าถ้าจะสู้รบกับพวกกบฎคงจะถูกฆ่าตายแน่
จึงตัดสินใจว่า ถึงตัวตายครั้งนี้ก็ให้ปรากฏชื่อไว้เป็นเกียรติแก่วงศ์ตระกูลลิ้ม ประกอบกับน้อยใจที่ไม่สามารถนำพี่ชายกลับเมืองจีนตามที่ได้รับปากกับมารดาไว้จึงได้ทำลายชีวิตของตนเอง ด้วยการผูกคอตายที่ต้นมะม่วงหิมพานต์
ลิ้มเต้าเคียนกับพวกต่างเศร้าโศกยิ่ง จึงพร้อมกันจัดการศพตามประเพณีอย่างสมเกียรติ ทำเป็นฮวงซุ้ย ปรากฏมาจนทุกวันนี้ ที่อยู่บ้านกรือเซะ ตำบลตันหยงลุโละ อำเภอเมืองปัตตานี ส่วนผู้ที่ติดตามมากับลิ้มกอเหนี่ยวในคร้งนั้นก็ไม่คิดจะกลับไปเมืองจีนอีก บรรดาคนจีนในสมัยนั้น ได้ทราบ ซึ้งถึงความกตัญญู ซื่อสัตย์ รักษาคำพูด คำมั่นสัญญาที่ได้ให้ไว้กับมารดาว่า ถ้าหากนำพี่ชายคือลิ้มเต้าเคียนกลับเมืองจีนไม่ได้ จะไม่ขอกลับเมืองจีนและยินดียอมตาย บรรดาคนจีนจึงได้เอา
กิ่งมะม่วงหิมพานต์ที่ลิ้มกอเหนี่ยวผูกคอตายมาแกะสลักเป็นรูปลิ้มกอเหนี่ยวและกราบไหว้บูชาจนถึงปัจจุบัน
ต่อมาเล่ากันว่า ลิ้มกอเหนี่ยวได้สำแดงอันปรากฎสิ่งศักดิ์สิทธ์เป็นที่ประจักษ์แก่ชาวเรือและประชาชนผู้สัญจรไปมาแถบถิ่นนั้นเสมอ จนเป็นที่เลื่องลือกันทั่วไป กิตติศัพท์อภินิหารของ
ลิ้มกอเหนี่ยวในเหตุให้ประชาชนผู้เลื่อมใสสละทรัพย์สินสร้างศาลขึ้นที่หมู่บ้านกรือเซะ และสร้างรูปจำลองเพื่อไว้สักการะโดยทำพิธีอัญเชิญวิญญาณมาสิงสถิตในรูปจำลองนั้น พร้อมกับขนานนามว่า เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวปรากฏว่ามีผู้คนหลั่งไหลไปกราบไหว้กันมากมาย ใครมีเรื่องเดือดร้อนก็ไปบนบานให้เจ้าแม่ช่วยเหลือ เมื่อบนบานแล้วต่างบังเกิดผลตามความปรารถนาแทบทุกคน จึงทำให้ความศักดิ์สิทธิ์ของเจ้าแม้ลิ้มกอเหน่ยวแผ่ไพศาลออกไปยังเมืองอื่นๆ

เปาบุ้นกง

                เปา เจิ่งถือกำเนิดขึ้นในครอบครัวนักวิชาการแห่งนครเหอเฟย์ มณฑลอานฮุย ที่ซึ่งในปัจจุบันประดิษฐานวัดเจ้าเปา (จีน: 包公祠; พินอิน: Bāogōngcí; คำอ่าน: เปากงฉือ) วัดดังกล่าวสถาปนาขึ้นใน พ.ศ. 1609 ใกล้กับสุสานของเปา เจิ่ง
เปา เจิ่งนั้นเมื่ออายุได้ยี่สิบเก้าปีได้เข้ารับการทดสอบหลวง และผ่านการทดสอบระดับสูงสุด ได้รับแต่งตั้งเป็นบัณฑิตเรียกว่า "จินฉื่อ" (พินอิน:
Jinshi) และต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงไคฟง อันเป็นเมืองหลวงแห่งประเทศจีนในสมัยราชวงศ์ซ้ง
ในสมัยที่ดำรงตำแหน่งหน้าที่ในราชการ เปา เจิ่งไม่ปรานีและประนีประนอมกับความทุจริตใด ๆ เลย เปา เจิ่งนั้นมีนิสัยรักและเทิดทูนความยุติธรรม ปฏิเสธที่จะเข้าถึงอำนาจหน้าที่โดยวิถีทางอันมิชอบ บุคคลผู้หนึ่งที่ชิงชังเปา เจิ่งนักได้แก่ราชครูผัง (จีน: 龐太師; พินอิน: Pángtàishī; คำอ่าน: ผังไท้ชือ) อย่างไรก็ดี ยังไม่ปรากฏข้อมูลทางประวัติศาสตร์ที่แน่ชัดรับรองว่าราชครูผังผู้นี้มีความชิงชังในเปา เจิ่งจริง นอกจากนี้ การปฏิบัติราชการโดยบริสุทธิ์ยุติธรรมอย่างไม่เห็นแก่หน้าผู้ใดยังทำให้เปา เจิ่งมีความขัดแย้งกับข้าราชการชั้นสูงบางกลุ่ม ซึ่งรวมถึงนายกรัฐมนตรีซ้งหยาง (พินอิน: Song Yang) เปา เจิ่งเคยสั่งลดขั้นตำแหน่งและปลดข้าราชการถึงสามสิบคนในคราเดียวกัน เหตุเพราะทุจริตต่อหน้าที่ราชการ รับและ/หรือติดสินบน และละทิ้งหน้าที่ราชการ กับทั้งเปา เจิ่งยังเคยกล่าวโทษจางเหยาจั๋ว (พินอิน: Zhang Yaozhuo) พระปิตุลาของพระวรชายา ถึงหกครั้ง อย่างไรก็ดี เนื่องจากความซื่อสัตย์และเฉียบขาดในการปฏิบัติหน้าที่ จนเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัย สมเด็จพระจักรพรรดิเหรินจงจึงมิได้พระราชทานราชทัณฑ์แก่เปา เจิ่งในอันที่ได้ล่วงเกินบุคคลสำคัญดังกล่าวนี้
เพื่อนร่วมงานและผู้สนับสนุนคนสำคัญคนหนึ่งของเปา เจิ่ง ได้แก่ อ๋องแปด (จีน: 八王爺; พินอิน: Bāwángyé; คำอ่าน: ปาหวังอี๋) ซึ่งเป็นพระมาตุลาในสมเด็จพระจักรพรรดิเหรินจง
เปา เจิ่งนั้น ถึงแม้รับราชการเป็นเวลากว่าสี่สิบห้าปี และมีตำแหน่งหลากหลายเริ่มตั้งแต่เป็นนายอำเภอ ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้ตรวจราชการแผ่นดิน ผู้ว่าราชการกรุง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นต้น แต่ผู้คนมักรู้จักเปา เจิ่งในด้านตุลาการ แม้ว่าความจริงแล้วเปา เจิ่งไม่ได้มีอาชีพเป็นตุลาการโดยตรงก็ตาม ความเด็ดเดี่ยวและกล้าตัดสินใจ ทำให้ผู้คนพากันยกย่องและคอยร้องทุกข์ต่อเปา เจิ่งเสมอ
เปา เจิ่งไม่เคยรับของขวัญใด ๆ เลยแม้จะเป็นชิ้นเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็ตาม เพื่อหลีกเลี่ยงคำครหาและความไม่เหมาะสมต่าง ๆ
เปา เจิ่งมีหลักในการปฏิบัติราชการว่า "จิตใจสะอาดบริสุทธิ์คือหลักแก้ไขปัญหามูลฐาน ความเที่ยงตรงเป็นหลักในการดำเนินชีวิต จงจดจำบทเรียนในประวัติศาสตร์ไว้ และอย่าให้คนรุ่นหลังเย้ยหยันได้"
ด้านความเป็นอยู่ส่วนตัวและอัธยาศัยนั้น ประวัติศาสตร์จีนบันทึกไว้ว่า เปา เจิ่งเป็นคนตรงไปตรงมา รังเกียจข้าราชการฉ้อราษฎร์บังหลวง และกดขี่ขูดรีดประชาชน แม้จะเกลียดคนเลวแต่ก็มิใช่เป็นคนดุร้าย เปา เจิ่งเป็นคนซื่อสัตย์และให้อภัยคนทำผิดโดยไม่เจตนา กับทั้งไม่เคยคบคนง่าย ๆ อย่างไร้หลักการ ไม่เสแสร้งทำหน้าชื่นและป้อนคำหวานเพื่อเอาใจคน มีชีวิตความเป็นอยู่อย่างเปิดเผย ไม่มีลับลมคมใน จึงไม่มีฝักไม่มีฝ่าย แม้ว่ายศฐาบรรดาศักดิ์สูงส่ง แต่เสื้อผ้า เครื่องใช้ เครื่องแต่งกาย และอาหารการกินก็ไม่ได้แตกต่างจากเมื่อครั้งยังเป็นสามัญชนเลย
การที่เปา เจิ่งได้รับยกย่องว่าเป็นประดุจเทพเจ้าแห่งความยุติธรรมทำให้ชาวจีนเชื่อว่า เปา เจิ่งนั้นกลางวันตัดสินคดีความในมนุษยโลก กลางคืนไปตัดสิ§ด้านความเป็นอยู่ส่วนตัวและอัธยาศัยนั้น ประวัติศาสตร์จีนบันทึกไว้ว่า เปา เจิ่งเป็นคนตรงไปตรงมา รังเกียจข้าราชการฉ้อราษฎร์บังหลวง และกดขี่ขูดรีดประชาชน แม้จะเกลียดคนเลวแต่ก็มิใช่เป็นคนดุร้าย เปา เจิ่งเป็นคนซื่อสัตย์และให้อภัยคนทำผิดโดยไม่เจตนา กับทั้งไม่เคยคบคนง่าย ๆ อย่างไร้หลักการ ไม่เสแสร้งทำหน้าชื่นและป้อนคำหวานเพื่อเอาใจคน มีชีวิตความเป็นอยู่อย่างเปิดเผย ไม่มีลับลมคมใน จึงไม่มีฝักไม่มีฝ่าย แม้ว่ายศฐาบรรดาศักดิ์สูงส่ง แต่เสื้อผ้า เครื่องใช้ เครื่องแต่งกาย และอาหารการกินก็ไม่ได้แตกต่างจากเมื่อครั้งยังเป็นสามัญชนเลย

การที่เปา เจิ่งได้รับยกย่องว่าเป็นประดุจเทพเจ้าแห่งความยุติธรรมทำให้ชาวจีนเชื่อว่า เปา เจิ่งนั้นกลางวันตัดสินคดีความในมนุษยโลก กลางคืนไปตัดสินคดีความในยมโลกชุดเครื่องประหารของเปา เจิ่ง รัฐบาลจีนได้จำลองขึ้นและจัดแสดงไว้ที่ศาลไคฟงในปัจจุบันในงิ้วตลอดจนในละครและภาพยนตร์ ผู้แสดงมักแสดงเป็นเปา เจิ่งโดยมีใบหน้าสีดำ และมีพระจันทร์เสี้ยวอันเป็นเครื่องหมายที่มีมาแต่กำเนิดประดิษฐานอยู่บนหน้าผาก กับทั้งเปา เจิ่งยังใช้เครื่องประหารเป็นชุดซึ่งได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระจักรพรรดิอีกด้วย โดยชุดเครื่องประหารประกอบด้วย เครื่องประหารหัวสุนัขสำหรับประหารอาชญากรที่เป็นสามัญชน เครื่องประหารหัวพยัคฆ์สำหรับอาชญากรที่เป็นข้าราชการและผู้มีบรรดาศักดิ์ และเครื่องประหารหัวมังกรสำหรับพระราชวงศ์ นอกจากนี้ เปา เจิ่งยังได้รับพระราชทานหวายทองคำจากสมเด็จพระจักรพรรดิพระองค์ก่อนโดยให้สามารถใช้เฆี่ยนตีสั่งสอนสมเด็จพระจักรพรรดิพระองค์ปัจจุบันได้ และกระบี่อาญาสิทธิ์โดยให้มีอาญาสิทธิ์สามารถประหารผู้ใดก็ได้นับแต่สามัญชนจนถึงเจ้าโดยไม่ต้องได้รับพระราชานุญาตก่อนตามธรรมเนียมปฏิบัติ แต่หลังจากประหารแล้วให้จัดทำรายงานกราบบังคมทูลทราบพระกรุณาด้วย เป็นที่มาของสำนวนจีนว่า "ฆ่าก่อน รายงานทีหลัง" (จีน: 先斬後奏; พินอิน: xiānzhǎnhòuzòu, เซียนฉ่านโฮ้วโจ้ว)ในวรรณกรรมจีนหลายเครื่อง ระบุถึงคดีสำคัญที่ได้รับการตัดสินโดยเปา เจิ่ง ดังต่อไปนี้

  รูปเคารพของเปา เจิ่ง ที่จังหวัดชลบุรี
                   คดีฉาเม่ย (จีน 鍘美; พินอิน: zháměi) : เปา เจิ่งได้ตัดสินประหารเฉินชื้อเม่ย
         (จีน: 陳世美; พินอิน:Chénshìměi) ผู้ทอดทิ้งภรรยาไปสมรสกับพระราชวงศ์จนได้รับพระราชทานยศเป็นพระราชบุตรเขย และต่อมาได้พยายามฆ่าภรรยาผู้นั้นเนื่องจากนำความไปร้องต่อศาลกรุงไคฟง ชื่อคดีนี้รู้จักกันทั่วไปจากละครโทรทัศน์ชุดเปาบุ้นจิ้นในชื่อ "คดีประหารราชบุตรเขย"
คดีหลีเมาฮ้วนไท้จี๋ (จีน: 貍貓換太子; พินอิน: límāohuàntàizǐ) : หรือคดีเกี่ยวกับการทำลายชื่อเสียงของพระวรชายาด้วยการลักลอบนำชะมดมาสับเปลี่ยนกับพระราชโอรสที่เพิ่งมีประสูติกาลและต่อไปจะได้ทรงเป็นมกุฎราชกุมาร คดีนี้มีขันทีชื่อกัวหวาย (จีน: 郭槐; พินอิน: Guōhuái) เป็นจำเลย ขันทีกัวหวายนั้นสนับสนุนงานของเปา เจิ่ง มาตลอดและเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยของสมเด็จพระจักรพรรดิ ทำให้กระบวนการสอบสวนเป็นไปได้โดยลำบาก เปา เจิ่งจึงปลอมตัวเป็นหยานหลัว (จีน: 阎罗; พินอิน:Yánluó; มัจจุราช) และจำลองยมโลกขึ้นเพื่อล่อลวงให้ขันทีรับสารภาพ ชื่อคดีนี้รู้จักกันทั่วไปจากละครโทรทัศน์ชุดเปา เจิ่ง ในชื่อ "คดีสับเปลี่ยนองค์ชาย"
เกียรติศัพท์และคดีของเปา เจิ่ง ได้รับการสร้างเป็นละครโทรทัศน์ยอดนิยมในปัจจุบันหลายครั้งหลายครา
อนึ่ง ได้มีการนำรูปเคารพที่เชื่อกันว่าสร้างขึ้นหลังจากเปา เจิ่ง ถึงแก่อนิจกรรมนั้นมาประดิษฐานในประเทศไทย โดยตั้งอยู่ที่อเนกกุศลศาลา ใกล้กับวัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี

เทพเอ้อหลาง

            เป็นเทพองค์หนึ่งของจีนตามความเชื่อในศาสนาพุทธ เรื่องราวของเทพเอ้อหลางมีการเล่าผ่านเรื่องราวในนิยาย 2 เรื่องที่เป็นที่รู้สึกกันเป็นอย่างดีคือ “ไซอิ๋ว” กับ “พงสาวดารห้องสิน” อีกทั้งยังมีกล่าวแยกถึงประวัติของเทพเอ้อหลางใน “ทำเนียบรวมเทพ” อีกด้วย เรื่องราวความเป็นมาของเทพเอ้อหลางจึงมีมากมายจากหลายที่มา จึงขอเล่าเรื่องราวของเทพเอ้อหลางในแบบที่ชาวจีนเขาเล่าสืบต่อกันมาโดยกล่าวรวมๆ จากทุกที่มาที่กล่าวมาข้างต้นดังนี้ เทพเอ้อหลางเป็นลูกชายคนที่สองของหลี่ปิงเสนาบดีแห่งราชวงศ์ฉิน ชื่อว่า เอ้อหลาง* (ในพงสาวดารห้องสินกล่าวว่า ชื่อเดิมของเทพเอ้อหลางคือ หยางเจี่ยน บิดาเป็นแซ่ หยาง) มารดาของเขาเป็นน้องสาวของเง็กเซียนฮ่องเต้ ผู้เป็นจักรพรรด์แห่งสวรรค์ นางได้หลบหนีสวรรค์ลงมาแต่งงานอยู่กินกับมนุษย์ที่โลกมนุษย์ เรื่องที่นางทำนั้นถือว่าเป็นการกระทำที่ผิดต่อกฎของสวรรค์ นางจึงถูกจับตัวไปคุมขังที่เขาเถาซานดังนั้น เทพเอ้อหลาง จึงเป็นหลานของเง็กเซียนฮ่องเต้ เขาเติบโตมาโดยไม่ทราบเรื่องราวของมารดา แต่พอทราบว่ามารดาถูกจับตัวไปขังไว้จึงไปช่วยมารดาด้วยการผ่าเขาเถาซานออกเป็นสองซีก ครั้นเง็กเซียนฮ่องเต้ทราบเรื่องจึงให้ทหารสวรรค์จับตัวมาลงโทษ เจียงจื่อหยา (ในพงศาวดารห้องสินกล่าวถึง เจียงจื่อหยา ว่าเป็นเป็นเทพบนสวรรค์ แต่ลงไปทำงานในโลกมนุษย์ โดยมีอยู่ในโลกมนุษย์ในฐานะกุนซือของจีฟา อ๋องแห่งรัฐอู่ และเจียงจื่อหยาผู้นี้คือ อาจารย์ผู้สอนสั่งเทพเอ้อหลางมาตั้งแต่เด็กๆ ) ผู้เป็นอาจารย์ ได้ร้องขอต่อองค์เง็กเซียนให้ลดโทษเป็นการให้เทพเอ้อหลางทำความดีชดใช้ความผิด เขาเพียรทำความดีนับแสนครั้ง เพื่อให้สวรรค์ปลดปล่อยมาดาของตนจากการคุมขัง ความดีครั้งใหญ่ครั้งหนึ่งที่เขาทำคือ การช่วยบิดาปราบมังกรที่อาศัยอยู่ในมหาสมุทร ยังผลให้อุทกภัยที่เหล่ามนุษย์ได้ประสบอยู่นั้นทุเลาลง ผู้คนที่ทราบข่าวจึงพากันเคารพกราบไหว้เขาประดุจเทพ และเมื่อเขาได้ทำความดีหลายต่อหลายอย่างมากยิ่งขึ้น มนุษย์จึงเรียกขานเขาในนาม “เทพเอ้อหลาง” ครั้นเมื่อได้เป็นเซียนอยู่บนสวรรค์แล้ว เทพเอ้อหลางจึงได้รับตำแหน่งเป็นแม่ทัพใหญ่แห่งสวรรค์ มีเซียนฝีมือดี 1,200 องค์ เป็นกองกำลัง มีอาวุธวิเศษคือ กระจกวิเศษส่องเห็นชาติกำเนิดเดิมและทวนสามแฉก อีกทั้งยังมีเห่าฟ้าซึ่งเป็นสุนัขสวรรค์เป็นสัตว์เลี้ยงคู่กาย ครั้งหนึ่งเกิดศึกใหญ่ของสวรรค์ก็ได้รับราชโองการจากองค์เง็กเซียนให้ไปปราบพญาลิงนาม “เห้งเจีย” (“เห้งเจีย” ก็คือ ซุนหงอคง ลูกศิษย์ของพระถังซำจั๋งนั่นล่ะ) ทั้งสองมีฝีมือพอฟัดพอเหวียงกันมาก ดูแล้วเหมือนไม่ค่อยจะชอบหน้ากันเสียเท่าไหร่ด้วย เพราะฝ่ายหนึ่งเคร่งขรึมซื่อตรงตามกฏสวรรค์ อีกฝ่ายเอาแต่ใจไหลไปเรื่อย แต่ทั้งสองฝ่ายเหมือนสำนวนหนึ่งว่า ไก่เห็นตีนงู-งูเห็นนมไก่ดูได้จากการต่อสู้ครั้งหนึ่งที่ เห้งเจียไม่มีสมาธิ เหาะหนีหัวซุกหัวซุนโดยแปลงร่างเป็นนกบ้าง ปลาบ้าง เป็นศาลเจ้าบ้าง สารพัดจะแปลงตัวหลอกตาเทพเอ้อหลางที่ตามมาจับกุม แต่เทพเอ้อที่มีตาวิเศษก็ใช้ตาที่สามส่องหาจนเจอได้ทุกครั้งไป และไม่ว่าเห้งเจียจะแปลงเป็นตัวอะไรก็ตามได้หมด สุดท้ายของการตามจับตัวนั้น เทพเอ้อหลางก็จับเห้งเจียมารับการลงโทษได้ในที่สุด ว่ากันว่า เทพเอ้อหลางจะแพ้เห้งเจียก็ตรงที่เขาสามารถแปลงกายได้ 72 อย่าง ส่วนหงอคงเขาแปลงกายได้ 73 อย่าง ต่างกันไปจุดเดียวนี่เอง ส่วนเห้งเจียที่โดนจับก็ไม่ใช่ว่าฝีมือด้อยกว่าเทพเอ้อหลาง แต่เพราะนิสัยชอบทำเป็นเล่นมากไปหน่อยเลยประมาทระหว่างการต่อสู้ จึงถูกจับได้ในศึกครั้งนั้น

清水祖師 ตัน ผ่อ เจ่ว ,พระหมอ

                                         พระเฉ้งจุ้ยจ้อซู้ก๋ง เดิมชื่อ ผูชวี (ตัน ผ่อ เจ่ว) เป็นคนตระกูล ( 陈 ) แซ่เฉิน( แซ่ตัน ) ท่านถือกำเนิดที่เชิงเขากู่ซาน หมู่บ้านเสี่ยวก้อ ตำบลหยงชุน คืออำเภอหยงชุน จังหวัดเฉวียนโจว มณฑลฝูเจี้ยน เมื่อวันที่ ๖ ค่ำ เดือน ๑ ตามปฏิทินจีน แต่ปี พ.ศ. กำเนิดต่างมีความคิดเห็นแตกต่างกัน คือ พ.ศ. ๑๕๕๔ - พ.ศ.๑๕๘๗ และ พ.ศ. ๑๕๙๐ แต่ในที่นี้ใช้ พ.ศ. ๑๕๘๗ เป็นหลัก (ตามที่นายจี้หยวน นักวิจัยมหาวิทยาลัยแห่งชาติเฉิงชี ไทเป ไต้หวัน ซึ่งเขาได้อ้างอิงจากบทความของ หลิน ซีสุ้ย จากวารสารภาคผนวกของวารสารอายุ่ย พิมพ์ที่ไทเปโดย( สมาคมอันซีแห่งไทเปเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๐ ) ตรงกับรัชสมัยฮ่องเต้ซ่งเหรินจง ( จ้าวเจิน ) ใช้ปีรัชกาลว่าชิงหลี่ เป็นปีที่ ๗ แห่งราชวงศ์ซ่งเหนือ ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. ๑๕๖๖ – ๑๖๐๖ มีเมืองไคฟงเป็นเมืองหลวง นามบิดามารดามิได้ปรากฏ จากตำนานกล่าวว่า ท่านผูชวีได้ช่วยบิดามารดาเลี้ยงแพะแถบเชิงเขากู่ซาน แต่สิ่งหนึ่งที่ท่านแตกต่างจากชาวจีนฮั่นทั่วไปก็คือ ท่านมีผิวดำ ตัวดำ หน้าดำ จมูกโด่งและงองุ้ม ซึ่งอาจจะสืบเชื้อสายมาจากชาวอินเดียแขกทมิฬทางภาคใต้ ที่เดินทางมาค้าสำเภากับพวกอาหรับที่มาจอดแวะท่าเรือเมืองเฉวียนโจว อีกประการหนึ่งพื้นเพเดิมของชาวเมืองแถบนี้ก่อนที่ชาวจีนฮั่นจะอพยพลงมา มีพวกชนพื้นเมืองอาศัยอยู่ก่อนแล้ว ชนพวกนี้กล่าวกันว่า อพยพขึ้นไปจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ท่านผูชวี มีปัญญาเฉลียวฉลาดตั้งแต่สมัยเด็ก นิสัยชอบศึกษาหาความรู้ทั้งฝ่ายบู๊และฝ่ายบุ๋น เช่นเดียวกับเด็กวัยรุ่นทั่วไปแต่ที่แตกต่างจากเด็กทั่วไปก็คือ ท่านชอบศึกษาคำสอนในพระพุทธศาสนาตั้งแต่ยังเยาว์ ท่านศึกษาได้ลึกซึ้งและแตกฉาน ในฐานะที่เป็นคนอาศัยอยู่แถบเชิงเขาที่มีพืชนานาชนิด ท่านจึงได้ศึกษาเรื่องพืชสมุนไพร ไปด้วยจนสามารถนำมาประกอบเป็นยารักษาคนไข้ได้นเชี่ยวชาญและเป็นแพทย์ประจำตำบลอีกด้วย ต่อมาท่านได้ถือเพศบรรพชิตในพระพุทธศาสนานิกายมหายานท่านบวชวัดไหนไม่ปรากฏ แต่ต่อมาท่านได้มาพำนักที่วัดหมู่บ้านเผิงไหล อำเภออันซี แขวงเฉวียนโจว ตอนบวชน่าจะได้ฉายาว่า เหอซั่ง ผู้มีจิตใจโอบอ้อมอารี ได้อบรมสั่งสอนธรรมะแก่ชาวบ้าน ทั้งที่หมู่บ้านเผิงไหลและตำบลใกล้เคียง และยังได้ช่วยเหลือเครื่องอุปโภคบริโภคและเงินทองแก่ผู้ยากไร้ ด้วยความรู้แพทย์แผนจีนอย่างดี §พระโจวสุ่กงจึงช่วยรักษาผู้ป่วยในหมู่บ้าน นอกจากกิจกรรมดังกล่าวแล้วยังได้พัฒนาหมู่บ้านด้วยการออกทุนทรัพย์ร่วมกับชาวบ้านก่อสร้างสะพาน ถนนหนทางหลายแห่ง ก่อสร้างอาคารเพื่อประกอบพิธีขอฝนประจำหมู่บ้าน แต่การศึกษาทางธรรมะของท่านก็เป็นไปด้วยดี จนท่านมีภูมิธรรมสูงได้ชื่อว่า พระผู้มีน้ำใจใสสะอาดบริสุทธิ์ คือ เฉ่งจุ้ยโจวซือ หรือ ชิงสุ่ยชวีซือ ซึ่งหมายถึงพระผู้สำเร็จธรรมชั้นสูงเทียบได้กับพระอรหันต์ ณ ที่ตำบลเผิงไหล มีหน้าผาระหว่างภูเขาเผิงไหลซานกับภูเขาหลิงสิ่วซาน หน้าผาแห่งนี้เดิมชาวบ้านเรียกว่า หน้าผาจางเอี๋ยน ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นหน้าผาชิงสุ่ย หรือ เฉ่งจุ้ย เพื่อเป็นเกียรติแก่ พระเฉ่งจุ้ยโจวซือ ในปี พ.ศ. ๑๖๒๖ ตรงกับรัชสมัยฮ่องเต้ซ่งเสินจง ( จ้าวชวี ) แห่งราชวงศ์ซ่งเหนือ ใช้ปีรัชกาลว่า หยวนเฟิงที่ ๖ ได้เริ่มก่อสร้างวัดบนหน้าผาเฉ่งจุ้ย และให้ชื่อว่า วัดเฉ่งจุ้ยโจวซือ หรือ ชิงสุ่ยเอี๋ยน หรือ วัดเผิงไหล ขณะที่พระเฉ่งจุ้ยโจวซืออายุได้ ๓๙ ปี ตัวอาคารของวัดคงจะได้พัฒนาก่อสร้างเพิ่มเติมเรื่อยมา สระน้ำฝางเจียนทรงสี่เหลี่ยม อยู่ด้านหน้า กล่าวกันว่าในช่วงที่พระเฉ้งจุ้ยจ้อซู้ก๋งกำลังก่อสร้างวัดอยู่นั้น ท่านได้เดินทางเข้าไปในตัวเมืองอันซีเพื่อซื้อต้นไม้สนจีนที่ต้นตรงไม่คด ผู้ขายเจ้าของไม้มีต้นไม้แบบดังกล่าวจำนวนไม่กี่ต้นและลำต้นยังเล็กอยู่ด้วย เขาจึงขายให้ท่านด้วยเงินเพียงเล็กน้อย และสัญญากับท่านให้ตัดไม้ภายในห้าวัน ท่านดีใจมากกลับวัดให้ขุดสระสี่เหลี่ยมแล้วเจาะรูเล็กๆตรงกลางสระ ฝ่ายชาวบ้านและพระลูกวัดทำตามที่ท่านสั่ง ไม่เข้าใจว่าท่านให้ทำเพื่ออะไร ครั้นภายหลังวันนั้นในเวลากลางคืน เกิดพายุทั้งลมทั้งฝนพัดจัดโค่นเอาต้นสนจีนที่ท่านต้องการล้มลง ท่านจึงให้ลากลงไปในโคลนแล้วหายไป พอถึงวันที่สาม ปรากฏว่าต้นสนดังกล่าวโผล่ขึ้นมาจากรูในสระที่ขุดไว้ ชาวบ้านและพระลูกวัดต่างช่วยกันลากไม้ขึ้นมารวมเก้าต้นซึ่งครบตามที่ต้องการ ขณะเมื่อต้นที่สิบกำลังโผล่ขึ้นมาพวกเขาต่างร้องว่า “พอแล้ว” ต้นสนต้นนั้นหยุดกึกปิดรูที่ขุดเสียจนปรากฏตออยู่จนบัดนี้พระเฉ่งจุ้ยโจวซือได้ปฏิบัติธรรมและบริการสังคมในละแวกนั้น จนอายุได้ ๖๕ ปี จึงมรณภาพ เมื่อ พ.ศ. ๑๖๕๒ ตรงกับรัชสมัยฮ่องเต้ฮุยจง ( จ้าวจี๋ ) แห่งราชวงศ์ซ่งเหนือ ศพได้ประกอบพิธีฝังไว้บริเวณหลังวัด ต่อมาได้มีการสร้างเจดีย์หน้าหลุมฝังศพซึ่งชาวบ้านเรียกว่า เจิ้นกง และได้นำคำนี้ไปเรียกขานต่อท้ายสมณนามของท่าน เหอซั่ง ผู้มีจิตใจโอบอ้อมอารี ได้อบรมสั่งสอนธรรมะแก่ชาวบ้าน ทั้งที่หมู่บ้านเผิงไหลและตำบลใกล้เคียง และยังได้ช่วยเหลือเครื่องอุปโภคบริโภคและเงินทองแก่ผู้ยากไร้ ด้วยความรู้แพทย์แผนจีนอย่างดี §ปี พ.ศ. ๑๗๐๗ ปีรัชกาลหลงซิงที่ ๒ ของฮ่องเต้ซ่งเซียวจง ( จ้าวเซิน ) แห่งราชวงศ์ซ่งใต้ ทรงครองราชสมบัติระหว่าง พ.ศ. ๑๗๐๕ – ๑๗๓๒ ณ เมืองหลิ่นอาน หรือ หางโจวในปัจจุบัน มณฑลเจ๋อเจียง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้แต่งตั้งสมณศักดิ์แก่ ชิงสุ่ยชวีซือ สูงขึ้น เป็น “จาวอิงไท่ซือ” และยังโปรดฯให้ก่อสร้างศาลเจ้าไว้หน้าสุสานด้วย วัดเฉ่งจุ้ยโจวซือในปัจจุบันดังได้กล่าวแล้วว่าวัดนี้มีอายุมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ซ่งเหนือตั้งแต่ พ.ศ. ๑๖๒๖ เก้าร้อยปีเศษ เมื่อมองดูสภาพวัดในปัจจุบันที่ทางการจีนได้อนุรักษ์เอาใจใส่ บูรณปฏิสังขรณ์ตลอดมา ทำให้ผู้มีจิตศรัทธาและนักท่องเที่ยวต่างเดินทางไปสักการะเป็นอันมาก เพราะตัววัดตั้งอยู่บนหน้าผาสูงชันที่กลมกลืนกับธรรมชาติบริเวณภูเขาตัดกับขอบฟ้า ทำให้ตัวอาคารมองดูเด่นสง่า ที่ประกอบด้วยหลังคาลดหลั่นกันที่เรียกว่า ไห่เทียนกั๋ว ภายในอาคารแต่ละหลังมีห้องโถงต่างๆ เช่น ห้องประดิษฐานพระโจวสุ่กง พระกวนอิม ห้องรับรอง หอสวดมนต์ นั่งสมาธิ และห้องเล็กห้องน้อยกว่า ๙๙ ห้องบริเวณภายนอกตั้งแต่ซุ้มประตูทางเข้าซึ่งเพิ่งก่อสร้าง เป็นประตูสามช่องทางขนาดใหญ่ จนถึงหมู่อาคาร มีแง่หิน สระน้ำฝางเจียนทรงสี่เหลี่ยม อยู่ด้านหน้า กุ้ยเทียน ต้นการบูรขนาดใหญ่อายุหลายรอยปี ตรงกลางมีโพรงไม่มียอด สูงประมาณ ๑๐ เมตรกว้างประมาณ ๖ เมตร ภายในโพรงกว้างประมาณ ๑.๘๖ เมตร พอที่คนหลายคนเข้าไปนั่งเหยียดขาได้สบาย เมื่อมองทะลุโพรงขึ้นไปบนท้องฟ้ายอดปลายโพรงเมื่อถึงฤดูใบไม้ผลิ จะแตกกิ่งออกมาสองกิ่ง ชาวบ้านเรียกต้นนี้ว่า กุ้ยเทียน บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ อยู่ไม่ห่างจากสระฝางเจียน มีน้ำไหลตลอดปี น้ำรสชาติหวานชาวบ้านถือว่าเป็นน้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์รักษาโรคได้เจดีย์เจิ้นกง เป็นเจดีย์ที่สร้างขึ้นมาเพื่อรำลึกถึงพระโจวสู่กงด้านหน้าหลุมศพท่าน ก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. ๑๖๗๔ เป็นเจดีย์สูงสิบชั้น ตรงกับรัชสมัยฮ่องเต้ฮุยจง ( จ้าวจี๋ ) ภายหลังจากที่ท่านมรณภาพได้ ๒๐ ปี หลุนอิน หรือ ซือกุ้ย เป็นแท่นบูชา ก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. ๑๘๖๐ ตรงกับรัชสมัยฮ่องเต้เหยินจง ในปีเจี้ยนอิ้วที่ ๔ แห่งราชวงศ์หยวน ต้นการบูรขนาดใหญ่ กล่าวกันว่า ท่านเป็นผู้ปลูกไว้ ปัจจุบันสูงประมาณ ๓๒ เมตร วัดโดยรอบได้ ๗ เมตรยอดต้นการบูรต้นนี้ปลายชี้ไปทางทิศเหนือตลอดเวลา ต้นโปรโดคาร์ปัส เป็นต้นไม้จีนชนิดพุ่มที่เป็นไม้หายาก ใบเล็กเรียวยาวใบแข็งมีลูก ปัจจุบันนิยมทำไม้แคระหรือไม้พุ่ม แต่ต้นนี้ปลูกไว้แต่สมัยพระโจวสุ่กง สูงประมาณ ๑๓ เมตร วัดโดยรอบได้ ๑.๓๕ เมตร กล่าวกันว่าปีหนึ่งสูงประมาณ ๓ ฉุ่นแต่เมื่อฟ้าร้องฟ้าแลบ จะลดลงเหลือ ๓ เซนติเมตรเท่านั้น คอสิงโต บริเวณหลังวัดเฉ่งจุ้ยโจวซือมีก้อนหินขนาดใหญ่คล้ายหัวสิงโต ใกล้ๆกันมีรูคล้ายปากสิงโตอ้าออกซึ่งสามารถที่จะให้คนสิบคนเข้าไปยืนได้ ลึกเข้าไปมีรูคล้ายลำคอสิงโตประมาณ ๒ เชียะ ในฤดูใบไม้ผลิต จะมีเสียงลมพัดผ่านออกมาคล้ายเสียงสิงโตคำรา§กล่าวกันว่ารูถ้ำนี้สามารถเดินไปถึงเมืองเฉวียนโจวได้ในแถบมณฑลฝูเจี้ยนหรือ ฮกเกี้ยน กว่างตง กว่างซี ชาวจีนส่วนใหญ่จะเคารพนับถือเทพเจ้าอยู่ ๕ องค์ คือ๑. เป๋าเชิงต้าตี้ หรือ ซีจี้กง แถบเมืองไป่เจี่ยว ใกล้เซี่ยเหมิน๒. พระชิงสุ่ยชวีซือ หรือ เฉินผูชวี ที่วัดเฉ่งจุ้ยโจวซือ ตำบลเผิงไหล ที่อำเภออันซี๓. กัวเชิงหวัง หรือ กวงเจ๋อ จุนหวัง ที่เว่ยเจินเหมียวหรือกัวซานหรือเฟิงซานซือ ที่ซื่อซาน ต้นแม่น้ำแถบอันซี หยงชุนและหนานอัน๔. เจ้าแม่มาจู่ หรือ มาจอโป๋ จากเกาะเหมยโจว๕. ฉีเทียนต้าเฉิง หรือ วุนอู่กง หรือเฮ่งเจีย ที่ตำบลแถบภูเขาและภาคกลางของฝูเจี้ยน ในไต้หวันมีศาลเจ้าโจวสู่กงที่สำคัญคือ ศาลเจ้าชิงสุ้ยจูซือที่ว่านหัว ก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๓๓๐ ถนนคางติง อำเภอว่านหัว ไทเป อีกแห่งที่ซานเซี่ย ก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๒เพื่อเป็นสิ่งยึดเหยี่ยวแก่ชาวอันซีที่อพยพมาอยู่เขตซานเซี่ยในไต้หวัน เมื่อถึงวันแซยิดของพระโจวสู่กง คือ วันที่ ๖ ค่ำ เดือน ๑ ตามปฏิทินจีน พวกชาวบ้าน ๗ แซ่สกุลจากสี่ตำบล คือ ซานเซี่ย อิงเก๋อ ตู้เฉิงและต้าซี ต่างมาร่วมจัดงานระลึกถึงท่าน ศาลเจ้าโจวสู่กงที่มาเลเซียตั้งอยู่บริเวณเกนติ้งไฮแลนด์ เรียกว่า วัดถ้ำชินสวี พระเฉ้งจุ้ยจ้อซู้ก๋ง กับ พระตักม้อโจวซือ บางท่านเข้าใจว่าเป็นองค์เดียวกัน เพราะพระโจวพระเฉ้งจุ้ยจ้อซู้ก๋ง บางคนเรียก ตัวจ้อ หรือ อิดจ้อ แปลว่า องค์แรก ซึ่งตรงกับการเรียกขาน พระตักม้อโจวซือ ที่เรียก อิดจ้อ ศาลเจ้าบางแห่งจึงนำเอาพระโจวสู่กงไปวางไว้เป็นตัวจ้อ องค์แรก แล้วต่อด้วยหยี่จ้อ องค์ที่สอง ซึ่งต้องเรียงไปจนถึงหลักจ้อคือ องค์ที่หกแต่จากการศึกษาชีวประวัติของทั้งสององค์ต่างมีที่มาไม่เหมือนกัน ชีวประวัติของพระโจวสู่กงท่านมีชื่อเดิม สถานที่ถือกำเนิดชัดเจน เพียงแต่มีผิวดำคล้ายพระตักม้อซึ่งเป็นชาวอินเดีย ซึ่งท่านเดินทางเรือจากอินเดียใต้ถึงกว่างโจว มณฑลกว่างตง เมื่อ พ.ศ. ๑๐๗๐ วันที่ ๒๑ ค่ำ เดือน ๙ ตามปฏิทินจีน เข้าเฝ้าฮ่องเต้เหลียงอู่ตี้ ( เซียวเอี่ยน ) แห่งราชวงศ์เหลียงที่เมืองนานกิง ซึ่งพระองค์ทรงนับถือพระพุทธศาสนา แต่จากการสนทนาธรรมกับพระองค์ ทรงไม่เข้าใจในบทสนทนาจึงไม่โปรดฯ พระตักม้อจึงเดินทางไปพำนักที่วัดเส้าหลิน เมืองลั่วหยาง นั่งสมาธิหันหน้าเข้าผนังหินถึงเก้าปีจึงได้สำเร็จมรรคผล แล้วจึงเผยแผ่ธรรมะไปทั่วประเทศ จีนถือว่าท่านเป็นพระมหาสมณะองค์แรกหรือสังฆปรินายกองค์แรก เรียกว่า อิดจ้อ หรือ อิดโจ้ว หรือ ตักม้อโจวซือ หรือ พระอิดโจ้วตักม้อไต้ซือ หรือ พระโพธิธรรมมหาครูบา ท่านจึงมิใช่โจวซือกง และเวลาของทั้งสององค์ก็ต่างกันกว่าห้าร้อยปีพระเฉ้งจุ้ยจ้อซู้ก๋ง จึงเป็นพระสงฆ์ทางพระพุทธศาสนาที่คนจีนถือเป็นเทพเจ้าและให้ความเคารพนับถือตลอดจน การขอยารักษาโรคภัยไข้เจ็บมาแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน เมื่อถึงวันแซยิด คือ วันที่ ๖ ค่ำ เดือน ๑ หรือบางแห่งถือเอาวันที่ ๖ ค่ำ เดือน ๖ ตามปฏิทินจีน ผู้ที่เคารพนับถือต่างไปสักการะกราบไหว้เป็นประจำทุกปี จบแล้วครับ

เตียวเทียนซื่อ,ราชครูแห่งสวรรค์

เป็นเทพเจ้า ที่ได้สมญานามว่า ราชครูแห่งสวรรค์ ตอนที่อยู่ในโลกมนุษย์ ท่านชื่อ เต้าหลิง แซ่เตียว ท่านมีรูปร่างสูง 9 ฟุต 2 นิ้ว คิ้วดก หน้าผากกว้าง ผมดก ตาออกสีเขียว คางกว้าง ตาสามเหลี่ยม มีหนวดสวยงาม แขนยาวเลยเข่า ตอนอายุประมาณ 7 ปี ท่านสามารถเรียนรู้หนังสือ และตำรับตำราต่างๆ รู้ประวัติศาสตร์ รู้ดินฟ้าอากาศ รู้สวรรค์ รู้มนุษย์ เรียกว่าเป็นผู้หยั่งรู้ก็ได้ สมัยฮั่น ค.ศ.59 ท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็นขุนนางเมืองเสฉวน ตอนหลังท่านลาออกจากราชการเพื่อออกปฏิบัติธรรม เพื่อเป็นฤษี ณ มณฑลเหอหนาน อำเภอโละเหลียง ตำบลวังต๋าน ท่านมีความเคารพยกย่องแก่บรรดาครูบาอาจารย์ต่างๆ ที่เคยสอนวิชาความรู้ให้กับท่าน ภายหลังท่านได้สร้างสถานปฏิบัติธรรมของท่านเองขึ้นมา ต่อมาปี ค.ศ. 89 ทางการได้เชิญให้ท่านเข้ารับราชการอีกครั้ง เพื่อเป็นขุนนางชั้นสูง ตำแหน่งราชครู อย่างไรก็ตาม ภายหลังเมื่อท่านอายุ 63 ปี ท่านก็ได้ขอลาออกจากราชการอีกครั้ง เพื่อเข้าปรุงยาอายุวัฒนะ ณ เขาแห่งหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันคือเขามังกรเสือ อำเภอซิ่นโจว ระหว่างที่อยู่ในเขาแห่งนั้น ท่านได้ใช้อิทธิฤทธิ์เพื่อปราบบรรดาปีศาจร้าย อาทิ ปราบปีศาจงูสองตัว ตัวผู้และตัวเมีย โดยฆ่าจนตาย ซึ่งแท้ที่จริงแล้วปีศาจงูนั้นก็คือสิ่งที่สวรรค์ส่งมาให้ท่านได้ใช้อิทธิฤทธิ์นั่นเอง ต่อมางูตัวนั้น จึงกลายเป็นอาวุธพิเศษของท่าน ตัวหนึ่งกลายเป็นดาบวิเศษ ส่วนอีกตัวกลายเป็นตราประทับ ค.ศ.156 เดือนอ้ายวันที่ 7 เมื่อท่านอายุ 123 ปี สวรรค์ได้แต่งตั้งให้ท่านเป็นมหาราชย์แบบไม่มีจำกัด สามารถมีบารมีมาก และยังได้ตำแหน่งเทียนซือ หรือราชครูแห่งสวรรค์ ต่อมา เดือน 9 วันที่ 9 สวรรค์เรียกให้ท่านไปปฏิบัติธรรม ณ เขา หยินไถ และแต่งตั้งพระนามให้เป็น เจียหยิดจินหยิน โดยตั้งเมฆต่างๆ มาเป็นบริวาร ท่านเตียวเทียนซือ มีลูกศิษย์ 2 คน คือ ฉาง แซ่อ๋อง และซึ้ง แซ่เจ้า ซึ่งภายหลังท่านได้นำศิษย์ทั้งสองขึ้นไปบนสวรรค์ด้วย 

ไท้ซ่งเล่ากุน 太上老君

                      ไท้ซ่งเล่ากุน(太上老君), ไท้ซ่งหลี่เล่ากุน(太上李老君), เต้าเต๋อเทียนจุน(道德天尊), เล่ากุนเอี๋ย(老君爺), ไท้ซ่งเต๋าโจ้ว(太上道祖), เล่าจื้อ(老子) ฯลฯ
                         ไท่ซั่งเหล่าจวิน เป็นเทพที่มาจากความเชื่อในลัทธิเต๋า กล่าวกันว่า ลัทธิเต๋า มีเทพเจ้าสามพระองค์ที่ได้รับการเคารพและกราบไหว้จาผู้คนเป็นอย่างมาก เทพเจ้าทั้งสามเรียกรวมกันว่า “ซานชิง” “ซานชิง” ถือเป็นเทพผู้ชั้นสูงสุดในบรรดาเหล่าเทพและเซียนทั้งหลายบนสวรรค์ เทพซานชิงนี้ได้แก่ เทพอวี้-ชิง-หยวน-สื่อ-เทียน-จวิน, เทพซั่ง-ชิง-หลิง-เป่า-เทียน-จวิน และเทพไท่-ชิง-ต้าว-เต๋อ-เทียน-จวิน ไท่ซั่งเหล่าจวิน นั้นก็คือ องค์ต้าวเต๋อเทียนจวินนั่นเอง และองค์ต้าวเต๋อเทียนจวินองค์นี้ก็คือผู้ให้กำเนิดลัทธิเต๋านั่นเองในช่วงปลายสมัยราชวงศ์โจว เป็นยุคที่มีความวุ่นวายในแผ่นดิน ประวัติศาสตร์ จีน เรียกว่ายุคสงครามระหว่างรัฐ ปราชญ์เมธีนาม เล่าจื่อ ได้เขียนบันทึกที่เรียกว่า “คัมภีร์แห่งเต๋า” หรือ “ต้าวเต๋อจิง” ขึ้นมา ในบันทึกนั้นกล่าวไว้ว่าเทพของลัทธิเต๋ามีสององค์ แต่เมื่อภายหลังที่ศาสนาพุทธได้เข้ามาในประเทศจีนแล้วนั้น ในศาสนาพระพุทธเจ้า 3 องค์คือ พระอมิตาภะพุทธเจ้า, พระศากยะมุนีพุทธเจ้า และพระศรีอารียะเมตรตรัยพุทธเจ้า นักบวชในลัทธิเต๋า จึงอัญเชิญ “เล่าจื่อ” เข้ามาเป็นหนึ่งในสามเทพของเต๋า โดยมีนามว่า ต้าวเต๋อเทียนจวิน ซึ่งก็คือ เทพไท่ซ่างเหล่าจวินนั่นเองแต่เทพไท่ซ่างเหล่าจวินนี่ปรากฏในเรื่อง “ไซอิ๋ว” นั้น ไม่เชิงว่าจะไม่ใช่องค์ต้าวเต๋อเทียนจวิน แต่มีการแต่งเติมโดยใช้ องค์ต้าวเต๋อเทียนจวิน เป็นแบบอย่าง ดังนั้นหากกล่าวถึงไท่ซ่างเหล่าจวินในไซอิ๋วแล้วนั้น จะหมายถึง เทพระดับสูงบนสวรรค์ ที่มีรูปลักษณ์เป็นชายแก่ผมขาว หนวดเคราขาวยาว ถือแส้ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของนักพรตในลัทธิเต๋า มีหน้าที่ทำยาวิเศษ มีชื่อเรียกหลายๆ อย่างอาธิ เหล่าจวิน, เหล่าจื่อ, เหล่าจื่อต้าวจวิน, หลี่เหล่าจวิน, หลี่ปั๋วหยาง, ปั๋วหยาง เป็นต้นยาวิเศษเป็นสัญลักษณ์หนึ่งแสดงถึงความเชื่อในลัทธิเต๋าที่ถูกกาลเวลาแต่งเสริมเติมใส่สี จนคัมภีร์เต๋าเต๋อจิงที่เดิมเน้อคำสอนที่มุ่งให้บุคคลเข้าในในธรรมชาติอย่างผู้มีปัญญา และดำเนินวิถีชีวิตแบบเรียบง่ายที่สุด กลับถูกเปลี่ยนให้เน้นหนักไปในทางอภินิหารและเวทมนต์ ทำให้ปรัชญาเต๋าได้เปลี่ยนรูปมาอยู่ในลักษณะของลัทธิศาสนาที่นำเอาความเชื่อในเรื่อง หยินและหยางมาผสมกับความเชื่อดั้งเดิมของชาวจีนที่เคยบูชาพระเจ้าในธรรมชาติ รวมทั้งความเชื่อในทางไสยศาสตร์ และการเล่นแร่แปรธาตุ การเล่นแร่แปรธาตุในสมัยโบราณคือ การทำยาวิเศษ และยาอายุวัฒนะนั่นเอง

นาจา,ลี้โลเชี้ย,โลเชี้ยไท่จื้อ,จงตั๋นหง่วนโส่ย

เทพปราบมารซัมไท่จื้อ นาจา ลี้โลเชี้ย โลเชี้ยไท่จื้อ หรือตงตั๋นหง่วนโส่ย ล้วนเป็นชื่อเรียกเทพเจ้าองค์เดียวกัน ตามประวัติ ท่านเป็นเทพผู้เฝ้าอารักขาเง็กเซียนฮ่องเต้อยู่บนสวรรค์ โดยปกติบนสวรรค์จะมีขุนนางเฝ้าอยู่ 5 ทัพ คือ ทิศตะวันตก ตะวันออก เหนือ ใต้ และทัพกลาง โดยลี้โลเชี้ยเฝ้าอยู่ทัพกลาง ท่านมีรูปร่างสูง 6 โยชน์ มี 3 เศียร 9 เนตร 8 กรสมัยเจาเฉา เมื่อ 4,000 กว่าปีก่อน แผ่นดินจีนเกิดความเดือดร้อนไปทุกหย่อมหญ้า เพราะฮ่องเต้ถูกปีศาจจิ้งจอก 9 หางที่แปลงตัวเป็นหญิงงามหลอกล่อให้มัวแต่หลงในกาม ไม่ออกว่าราชการ เง็กเซียนจึงให้ลี้โลชั้ยจุติลงมาบนโลกมนุษย์เพื่อปราบปีศาจ โดยไปเกิดเป็นลูกเป็นลูกชายคนสุดท้องของขุนนางเฝ้าด่านที่ชื่อ เจ๋ง แซ่ลี่ หรือ ลี่เจ๋ง มีพี่ชายสองคนชื่อ กิ้มเชี้ย และบกเชี้ย โดยก่อนหน้าที่จะตั้งครรภ์ แม่ของท่านได้ฝันเห็นไข่มุกราตรี 1 เม็ดลอยมาหา และตั้งครรภ์นานกว่าคนปกติทั่วไปมาก ก่อนกำเนิดนั้น บริเวณรอบๆ บ้านของลี่เจ๋งจะหอมไปด้วยกลิ่นของดอกไม้ และมีแสง 7 สี สว่างวาบไปทั่ว และเมื่อจุติออกมา ลี่เจ๋งก็ต้องประหลาดใจที่ภรรยาคลอดเป็นเพียงก้อนเนื้อออกมา ด้วยความตกใจว่าจะเป็นปีศาจ เขาจึงได้เอาดาบฟันก้อนเนื้อนั้นออกเป็นสองท่อน และจึงได้พบว่าข้างในนั้น มีเด็กชายคนหนึ่ง พร้อมทั้งอาวุธติดตัวมา คือ ต้อ ( ชุดที่ใส่ ) ห่วง และอิฐทองคำ ซึ่งขณะนั้นมีอาจารย์ที่เก่งกาจท่านหนึ่ง ชื่อ เซียนซือจุน ได้บอกลี่เจ๋งและภรรยาว่าให้เลี้ยงดูต่อไป เพราะลูกชายเป็นเทพจุติลงมาเกิดบนโลกมนุษย์ เพื่อปราบปีศาจเมื่อโตขึ้นมีครั้งหนึ่ง ลี้โลเชี้ย ไปเที่ยวเล่นข้างนอก เห็นทะเล จึงถอดต้อและของวิเศษออก แล้วเล่นน้ำ พร้อมกับซักต้อของตัวเอง การกระทำนี้ทำให้ ใต้สมุทรกระเทือน จนจ้าวสมุทรหรือฮ่ายเหล็งอ๋อง ต้องส่งมังกรทางทิศตะวันออกคนมาดูบนโลกว่าเกิดอะไรขึ้น แต่มังกรก็ได้กลับไปรายงานจ้าวสมุทรว่า โดนลี้โลเชี้ยทำร้ายจนบาดเจ็บ จ้าวสมุทรจึงส่งลูกไปบ้าง ปรากฏว่าโดนลี้โลเชี้ยฆ่าตาย แล้วเอาเส้นเอ็น เกล็ด ของลูกจ้าวสมุทร มาถักกันไปมา จ้าวสมุทรโกรธมากจึงขึ้นไปฟ้องเง็กเซียน ฮ่องเต้ บนสวรรค์ว่าจะทำให้โลกมนุษย์เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ ลี้โลเชี้ยก็แปลงร่างตามไปสู้ถึงบนสวรรค์ จนฮ่ายเหล็งอ๋องกลายเป็นมังกรตัวเล็ก และลี้โลเชี้ยได้พับมังกรตัวเล็กนั้นใส่กระเป๋าลงมายังโลกมนุษย์ พอกลับบ้าน ลี่เจ๋งโกรธมากที่ลูกทำเรื่องเดือดร้อนครั้งใหญ่มาให้ จึงบอกว่าจะฆ่าลี้โลเชี้ยเสียให้ได้ ลี้โลเชี้ยสำนึกผิดจึงเชือดเนื้อตัวเอง แล้วคืนกระดูกให้กับพ่อของตนเมื่อตาย วิญญาณของท่านได้ล่องลอยไปหาอาจารย์เซียนซือจุน ท่านบอกว่าให้ไปเข้าฝันประชาชน เพื่อช่วยเหลือเขา เขาจะได้สร้างศาลให้อยู่ จะได้กินควันธูปควันเทียนสร้างบารมี ต่อมาลี่เจ๋งได้มาตรวจพบว่าในเมืองมีคนบูชาศาลแห่งหนึ่งมาก ตรวจพบดู จึงทราบว่าเป็นศาลของลูกชายตนเอง จึงสั่งให้ทหารทำลายเสีย ลี้โลเชี้ยเสียใจมาก เพราะตนไม่ได้คิดจองเวรกับพ่ออีกแล้ว จึงไปหาอาจารย์อีกครั้ง

เทพเจ้าโป้เส้งไต่เต่

                       เทพเจ้าโป้เส้งไต่เต่ หรือไตโตก้อง นามของท่านคือ หัวกี้ ชื่อตอนที่ยังไม่สำเร็จอรหันต์ เรียกคุนอาย ตามประวัติ ท่านบำเพ็ญบารมีจนอยู่ในระดับ ไต่ หรือขงจื้อ ( ตามคติแบบจีนโบราณ ผู้บำเพ็ญศีล มี 3 ระดับ คือ เจ๋ง เปรียบได้กับ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เต๋า เทียบได้กับพราหมณ์ และไต่ เทียบได้กับขงจื้อหรืออาจารย์)ท่านกำเนิด ในหมู่บ้านเล็กๆ ริมชายฝั่งทะเล ชื่อ แป๊ะเซ่ว หรือศิลาขาว ในอำเภอ ตังอ้าน จังหวัดฮกเกี้ยน สมัยราชวงค์ซ้ง พ่อของท่านชื่อ ท้ง แซ่หงอ แม่ของท่านแซ่อ๋อง เดิมท่านชื่อ ฝุ้น แซ่หงอ ก่อนเกิด แม่ของท่านได้ฝันเห็นดาวปักเต้าทางทิศเหนือวิ่งเข้ามาหาในท้อง และยังได้กลืนเต่าเผือก 1 ตัวเข้าไปในท้อง วันที่ท่านเกิดคือ วันที่ 15 เดือน 3 ของจีน ค.ศ. 979 ได้เกิดมีกลิ่นหอมไปทั่วบริเวณบ้าน และมีแสงจ้าไปทั่วปุ้น นับว่าเป็นเด็กที่ฉลาดและอัจริยะกว่าใครในแถบนั้น เมื่อตอนอายุ 17 ปี ท่านได้ออกจากบ้านไปเรียนวิชาแพทย์เพื่อรักษาโรคและเรื่องยาสมุนไพรต่างๆ กับผู้รู้นามว่า “ไชอ๋องพู” จนต่อมาได้ออกไปรักษาคนที่เจ็บไข้ได้ป่วยทั่วหัวระแหงจนเป็นที่โด่งดังไปทั่ว จนพระเจ้าแผ่นดินเรียกให้เข้าไปอยู่ในวัง ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นขุนนาง ตลอดชีวิตท่านได้บำเพ็ญเพียรบารมี จนเมื่อวันที่ 12 เดือน 5 จีน ค.ศ. 1036 ท่านได้สำเร็จอรหันต์ และลอยขึ้นสวรรค์ เจ้าสวรรค์แต่งตั้งให้เป็นเทพ นามว่า เชียวเห่งเหลงอ๋อง และได้ยศเป็นไต่เต่ หรือ มหาราช ท่านมีอายุในโลกมนุษย์ 58 ปีเมื่อเป็นเทพแล้ว ท่านปรากฏกายอีกครั้งในสมัยพระเจ้าเกาจงฮ่องเต้ ราชวงศ์ซ้ง ค.ศ.1128 หรือ 92 ปีหลังจากท่านเสียชีวิต ขณะนั้นบ้านเมืองอ่อนแอมาก ทหารจีนก่อนยุคมองโกเลียหรือพวกเง็กฮวย บุกจีน ท่านใช้อิทธิฤทธิ์ทางน้ำทำให้ศัตรูถอยทัพ จน ค.ศ. 1151 ท่านได้ลงมาช่วยคนอีก จนคนในโลกมนุษย์เห็นในบุญญาบารมีของท่าน จึงได้สร้างศาลเจ้าให้ท่าน ปัจจุบันอยู่ที่มณฑลฮกเกี้ยน ประเทศจีนหลังจากนั้นท่านก็ได้สร้างอิทธิฤทธิ์ช่วยเหลือคนเรื่อยมา จน ค.ศ.1171 ทางการจึงแต่งตั้งยศให้ท่าน เป็นเทพผู้เมตตา คอยช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ ชื่อคือ ไต่โต่จินหยิน ต่อมา ค.ศ.1227 ท่านได้รับยศเป็นเสนาบดีหรือ ชงเองจินหยิน พอ 5 ปี ถัดมาท่านได้รับยศอีกเป็นเหมี่ยวโตจินหยิน จนมาถึงสมัยหมิง ค.ศ. 1409 ท่านมาปรากฏกายอีก เข้าวังไปช่วยเหลือคน โดยท่านไปในฐานะพราหมณ์ จนเมื่อพระราชินีของพระจ้าเชียงจงเฉียนทรงประชวร รักษาด้วยหมอใดใดก็ไม่หาย ท่านได้เข้าไปถวายการรักษาจนพระราชินีหายป่วยจากโรคได้อย่างน่าอัศจรรย์ ตอนนั้นองค์ฮ่องเต้ไม่ทราบว่าผู้ที่ทำการรักษาเป็นเทพ ท่านจึงทรงประทานทรัพย์สินเงินทองมากมายแก่ท่าน แต่ท่านได้เขียนรูปนกกระเรียนขึ้น และขี่นกกระเรียนนั้นเหาะขึ้นสวรรค์ไป ตอนหลังฮ่องเต้จึงบูรณะศาลเก่าของท่านโป้เส้ง และประทานเสื้อมังกรให้ เทียบยศเท่ากับกษัตริย์องค์หนึ่ง และแต่งตั้งยศ ให้เป็น โป้เส้งไต่เต่ หรือ มหาราช จนถึงปัจจุบันในปีหนึ่งๆ ประชาชนจะไหว้ เทพเจ้าโป้เส้งไต่เต่ 2 ครั้ง คือ ฤดูใบไม้ผลิ และฤดูใบไม้ร่วง

อรหันต์จี้กง

ทรงเมตตาช่วยชาวโลก
ให้พ้นเคราะห์คลายโศก
สุขสันติประเสริฐล้ำ
กิริยาวาจา
เป็นปริศนาช่วยชี้นำ
ท่านชอบเสแสร้งทำ
กระตุ้นจิตบรรลุธรรม
                              พระอรหันต์จี้กง มีพระนามเดิมว่า ซิวอ้วง แซ่ลี้ เป็นชาวเมืองเทียนไถ เกิดในสมัยราชวงค์ซ้อง ท่านได้บวชอยู่ที่วัดเล่งอุ้ง ตำบลไซโอ้ว เมืองหางโจว ประเทศจีน และใช้พระนามทางศาสนาว่า " เต้าจี้ " ท่านโปรดสัตว์โดยวิธีพิสดาร จนชาวบ้านขนานนามว่า " พระสติเฟื่อง " (จี้เตียง) ท่านเป็นองค์อวตารของพระอรหันต์ได้บรรลุพระธรรม 3 ประการ ที่สำคัญได้แก่ สรรพสิ่งเกิดจากจิต ท่านยึดมั่นแต่ พุทธจิต ไม่คำนึงถึงเครื่องทรงภายนอก (รักษาศีลทางจิต ไม่ถือศีลทางปาก ปฏิบัติตนตามสบาย) คือ พระภิกษุในประเทศจีนต้องฉันเจ ไม่ฉันเนื้อสัตว์ ท่านไม่เคร่งครัดกับการฉันอาหาร สุดแท้แต่โอกาส ท่านมีอิทธิฤทธิ์กว้างขวาง โปรดช่วยมวลมนุษย์มากมายโดยอาศัยวิธีการต่างๆ เพื่อให้ชาวบ้านพ้นภัย ช่วยกอบกู้ผู้ที่ดูภายนอกเหมือนผู้มีบุญ แต่ใจบาป กลั่นแกล้งจนคนเหล่านั้นรู้สึกสำนึกตัว และกับผู้ที่โหดร้ายทารุณ จะถูกตอบโต้จนไม่สามารถจะอยู่ต่อไปได้ ทำให้ประชาชนอยู่อย่างสงบสุข ดังนั้น ประชาชนจึงสรรเสริญว่าเป็น " พระศักดิ์สิทธิ์ " เหมือนพระพุทธที่ยังมีชีวิต ซึ่งไม่ใช่สิ่งธรรมดาสามัญ แต่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วจริงๆ
พระอรหันต์จี้กงเคยอยู่วัดเจ็งชื้อ ต่อมาวัดนี้ถูกไฟไหม้ จำเป็นต้องได้รับการปลูกสร้างใหม่ ซึ่งต้องการได้ไม้จากเขาเงี้ยมเล้ง ท่านแสดงอิทธิฤทธิ์ปฏิหาริย์โดยใช้จีวรกางออกไป จีวรก็ปกคลุมเขาเงี้ยมเล้ง และถอนไม้จากเขาทั้งหมด แล้วนำไม้ล่องแม่น้ำสู่เมืองหางโจว แล้วท่านก็มาบอกชาวบ้านว่า ไม้ที่จะใช้ก่อสร้างบัดนี้อยู่ในบ่อธูป(บ่อที่ขุดขึ้น ใช้สำหรับเทขี้ธูปและก้านธูป)พระและชาวบ้านต่างไปดูที่บ่อธูป ก็ปรากฏเป็นเช่นนั้นจริง สิ่งที่เล่าต่อๆกันมานี้ ยังมีหลักฐานปรากฏอยู่มากมาย พระอรหันต์จี้กงได้นั่งสมาธิ จนเข้าฌานปลงสังขาร ในรัชสมัยพระจักรพรรดิเกียเตีย อัฐิของท่านถูกบรรจุไว้ในเจดีย์เสือผ่าน ก่อนที่ท่านจะปลงสังขาร ท่านได้ปริศนาธรรมไว้ว่า "หกสิบปีมานี่ กำแพงตะวันออกล้มตีกำแพงตะวันตก รวบรวมจนถึงบัดนี้ก็ยังคงเหมือนเดิม ท้องฟ้าก็ยังจดขอบฟ้าเช่นเดิม" หลังจากท่านปลงสังขารแล้วไม่นาน ก็มีพระภิกษุรูปหนึ่งได้พบพระอรหันต์จี้กงนั่งอยู่ใต้เจดีย์ชื่อ"หลักฮั้ว" และยังได้ผากหนังสือให้บทหนึ่งว่า "หวนรำลึกสมัยก่อน มีศรยิงมาทางด้านหน้า ถึงบัดนี้รู้สึกหนาวเหน็บกระดูกไปทุกขุมขน เนื่องจากไม่มีใครรู้จักหน้าตาแล้ว ยังขึ้นไปวิ่งเล่นบนดาดฟ้าหนึ่งรอบ" ที่ท่านลงมาอีกครั้งหนึ่งเป็นพระประสงค์ของมหาโพธิสัตว์ ตลอดพระชนม์ชีพของท่าน ได้ช่วยเหลือและอบรมชาวบ้านโดยวิธีการเสแสร้งต่างๆกันมาตลอด โดยไม่มีอุปสรรค ตัวท่านเป็นพระภิกษุ มีจิตที่เป็นมหาโพธิสัตว์ ท่านมีแต่จีวรขาดๆ รองเท้าขาดๆหนึ่งคู่ โดยไม่สนใจว่ามันจะเปื้อนโคลนหรือไม่ มือก็ถือพัดเล่มหนึ่ง ไม่กลัวทั้งที่ต่ำและที่สูง ศีรษะโล้น เท้าเปลือยเปล่า ไม่หนาวไม่ร้อน ไม่ต้องบิณฑบาตเพราะไม่หิวไม่กระหาย พบใครก็เอาแต่อมยิ้ม เพื่อจะได้แผ่บุญ ไม่หลบสังคม พบเสียงทุกข์ก็เข้าช่วยเหลือ ท่านมีจิตเมตตาไม่ถือสา การ ปรากฏตนของท่าน เอาแน่เอานอนไม่ได้ กิริยาล้วนเป็นปริศนาธรรม ธรรมะของท่านเป็นที่กล่าวขาน จนได้รับการยกย่องว่าเป็นพระอาจารย์ทางพระกัมมัฏฐาน แม้ท่านจะละสังขารจากโลกนี้ไปแล้วแต่ธรรมะท่าน ยังมีประโยชน์ต่อมวลมนุษย์เสมอมา ดังนั้น จึงได้สมัญญาว่า เป็นพระพุทธที่ยังมีชีวิตอยู่ ในสมัยปัจจุบันนี้ท่านลงมาประทับทรงที่สำนักเซี้ยเฮี้ยงตึ้ง โดยเอาวิญญาณคุณหยางเซิงไปเที่ยวเมืองสวรรค์ และคุณเอี้ยเซงไปท่องขุมนรก เพื่อเปิดเผยความลี้ลับของสวรรค์และนรก ให้ชาวโลกได้รู้
§ 

ตั่วเหล่าเอี๊ย,เหี้ยนเที้ยนซ่งเต่,เจ้าพ่อเสือ

                      ท่านเหิ่ยงเทียนเสี่ยงตี่ ยุคเขียว บรรพกาลล่วงมาแล้ว เมืองลกฮง กึงตัง ประเทศจีน ยังมีมานพหนุ่มรูปร่างกำยำใหญ่ผู้หนึ่ง ประกอบอาชีพเป็นคนฆ่าหมูและวัวเพื่อส่งไปยังตลาดจำหน่าย คืนหนึ่งเกิดนิมิตฝันเห็นนักพรตแต่งตัวแบบนักบวชเต๋ามาหา และบอกให้เขาวางมือจากการฆ่าสัตว์ได้แล้ว ว่ามานพมิได้เกิดมาเพื่อการนี้ แต่ท่านเกิดมาเพื่อสร้างบารมี ควรหันมาบำเพ็ญธรรมแล้วจะสำเร็จ เมื่อตื่นเช้าขึ้นมา มานพหนุ่มประหลาดใจในนิมิตฝันนั้น จึงปรึกษาหารือกับมารดา เพราะเขาเป็นบุตรกำพร้า บิดาเสียแต่เขายังเยาว์วัย มีเพียงมารดาที่เลี้ยงดูอบรมเขามา มารดาปรกติเป็นคนใจบุญ จิตใจมีเมตตา จึงเห็นด้วยกับความฝันของผู้เป็นบุตร ทั้งสองจึงตกลงยุติการฆ่าสัตว์ขายอันเป็นอาชีพของมานพหนุ่ม เมื่อตั้งใจบำเพ็ญปฏิบัติธรรมไปได้ 3-4 วัน นักพรตที่นิมิตฝันก็มาปรากฏกายที่หน้าบ้าน ถามมานพหนุ่มว่า เขาตัดสินใจเด็ดเดี่ยวที่จะบำเพ็ญพรตให้สำเร็จหรือยัง มานพหนุ่มตอบตกลงทันที และจัดการทรัพย์สินรวบรวมเป็นเงินก้อนหนึ่งไว้เลี้ยงดูมารดาผู้ชรา แล้วเก็บข้าวของออกเดินทางตามนักพรตขึ้นเขาไปบำเพ็ญพรต ด้วยความมานะ ตั้งใจหมั่นปฏิบัติบำเพ็ญ แต่การปฏิบัติก็ไม่มีความก้าว หน้าประสพผลแต่อย่างไร ศิษย์ที่มาใหม่ต่างสำเร็จไปก่อนเขา ทำให้มานพหนุ่มรู้สึกเสียใจ ท้อใจ วันหนึ่งจึงถามท่านนักพรตผู้อาจารย์ว่า เขาจะมีวันสำเร็จธรรมไหม ท่านอาจารย์ตอบแก่เขาว่า ตราบใดที่ภายในของเขา ยังสีดำอยู่ ก็อย่าถามถึงความสำเร็จเลย พอกลับไปถึงห้องพัก มานพหนุ่ม ครุ่นคิดอย่างหนัก อีกทั้งเสียใจ ข้องใจในคำพูดของอาจารย์ว่า ภายในของเขา สีดำ นั้นหมายความว่าอย่างไร เพราะเขามีความตั้งใจมั่นมาบำเพ็ญธรรม ก็เพื่อ ความสำเร็จ ถ้าภายในคืออุปสรรค เขาก็ยินดีพลีชีพเพื่อบูชาธรรมที่หวังจะ สำเร็จนั้น ๆ คิดได้ดังนั้น เขาก็คว้ามีดขึ้นมาคว้านท้อง ลากไส้และกระเพาะออกมา พอเครื่องในเหล่านั้นหลุดพ้นจากร่าง เขาก็รู้สึกตัวเบา และบรรลุธรรมทันที เนื่องเพราะอาชีพที่ฆ่าสัตว์มามาก และมานพหนุ่มเอาชีวิตตนแลกธรรม เพื่อทดแทนบาปเคราะห์กรรม ที่มาเป็นอุปสรรคขัดขวางการบำเพ็ญได้สำเร็จ อาจารย์นักพรตทราบความ เร่งรุดมาที่ห้องพักมานพหนุ่ม เข้าช่วยเหลือรักษา พยาบาลจนมานพหนุ่มเป็นปรกติ โดยท้องมานพหนุ่มปราศจากลำไส้ และ กระเพาะ แต่มิเป็นอุปสรรคต่อการดำรงชีวิต เพราะฌานสมาบัติแห่งธรรม หล่อเลี้ยงรักษาให้เป็นอยู่ เมื่อสำเร็จธรรม นักพรตเห็นสมควรที่ท่านจะลงจากเขาไปโปรดผู้คน ก่อนจากกันท่านอาจารย์ได้ มอบธงให้มานพหนุ่มผืนหนึ่ง เป็นสีขาว มานพจัดเตรียมสัมภาระลงเขาโดยเอากระเพาะและลำไส้ ของเขา ที่ตากแห้ง เก็บไว้นำติดตัวลงมาด้วย ครั้นเดินทางถึงตีนเขา ได้ยินเสียงร้องอย่างเจ็บปวด ของหญิงสาวจึงเข้าไปดู พบหญิงท้องแก่กำลังจะคลอดบุตร มานพหนุ่มบอกแก่หญิงคนนั้นว่า ท่านเป็นผู้ชาย และเป็นนักบวช มิใช่หน้าที่ ที่จะช่วยการคลอดได้ ได้แต่มอบธงผืนที่อาจารย์มอบให้แก่หญิงคนนั้น เพื่อรองรับเด็กทารก หญิงคนนั้นคลอดบุตรออกมาอย่างปลอดภัย เมื่อตัดสายสะดือเช็ดคราบเลือดแล้ว ยกทารกน้อยอุ้มขึ้นในอ้อมกอด หญิงคนนั้นได้ขอบใจท่านมานพหนุ่ม และส่งคืนธงที่เปื้อนเลือดคืนแก่ท่าน มานพหนุ่มจึงนำธงไปล้างที่ชายคลอง พอธงจุ่มลงน้ำ น้ำในคลองพลันเปลี่ยนเป็นสีดำทันที รวมทั้งธงของเขาก็กลายเป็นสีดำด้วย โดยไม่ได้ระวัง ระหว่างที่ล้าง กระเพาะและลำไส้ที่เก็บไว้ชายพก ตกลงไปในน้ำ เขาก็คิดว่าดีเหมือนกัน ไม่ต้องเป็นภาระเก็บรักษาอีกต่อไป มานพหนุ่มลงเขาโปรดผู้คนอยู่ จวบจนสิ้นวาระขัยจากมนุษย์โลก ไปเสวยทิพย์สมบัติ องค์เง็กเซียนฮ่องเต้จ้าวแห่งสวรรค์ โปรดประทานยศให้เป็น ผู้ตรวจการภพสาม ตำแหน่ง “เหี้ยนเทียนเสี่ยงตี่” ผู้พิชิตมาร โดยมีธงเทพโองการดำเป็นอาญาสิทธิ์ ธงสีดำเป็นสัญลักษณ์ของท่าน เป็นธงบัญชาการของเจ้า หรือเทพพรหม มีลัญจกรอยู่ในธง อาญาสิทธิ์เฉียบขาด มีแม่ทัพทั้ง 5 เป็นบริวาร กล่าวถึงกระเพาะและลำไส้ที่ตกลงไปในน้ำ เกิดสัตว์ประหลาดสองตัว สร้างความเดือดร้อนให้กับชาวบ้าน และได้ทำลายพืชพรรณ กินสัตว์เลี้ยงของ ชาวบ้าน ชาวบ้านบวงสรวงเซ่นไหว้ เหล่าเทพเจ้าขอความคุ้มครองปกปักรักษา เทพผู้พิทักษ์จึงรายงานขึ้นทูลเง็กเซียนฮ่องเต้ เง็กเซียนฮ่องเต้จึงมีพระบัญชาให้ ผู้พิชิตมาร เหี้ยนเทียนเสี่ยงตี่ ลงมาปราบสัตว์ประหลาดทั้งสอง พอพบสัตว์ประหลาดทั้งสอง จึงทราบว่าเป็นกระเพาะและลำไส้ของตนที่ปีศาจร้ายเข้าไปสิงสถิตอยู่นั่นเอง กระเพาะกลายเป็นเต่า และลำไส้กลายเป็นงู ท่านจึงกระโดดลงยืน เท้าข้างหนึ่งเหยียบเต่า และเท้าอีกข้างเหยียบงูไว้ สยบสัตว์ปีศาจร้ายทั้งสองจนหมดฤทธิ์ ชาวบ้านเลื่อมใส ศรัทธา จึงจัดสร้างศาลเจ้าและรูปปั้นท่านขึ้นบูชา  ลักษณ์ของท่านจึงกลาย เป็นเท้าเหยียบเต่าเหยียบงู และ ธงของท่านเป็นสีดำ ต่ำแหน่งตั่วเหล่าเอี๊ย “ปักเก็กจิงบู้เหี้ยนเทียนเสี่ยงตี่” โดยมีเสือเป็นบริวารพาหนะ ที่ผู้คนกราบไหว้นับถือมาจนถึงทุกวันนี้ หน้าที่ผู้พิชิตมาร ดูแล ปกป้อง สืบสาน ศาสนจักร อาณาจักร ให้ดำรงมั่น 

กิ้วอ๋องไต่เต่

    กิ้วอ๋องต่ายเต่ - พระราชาธิราชเก้าพระองค์กิ้ว-ฮ้วง - พระราชาธิราชเก้าองค์ไต่ - โต,ใหญ่,ใหญ่หลวง,มหันต์,มหาภูติ (คือดิน,น้ำ,ลม,ไฟ)ตี่ - จักรพรรดิ,พระราชาธิราช,พระเจ้า,เทพ,เทพเจ้า,เทพยดา,เทวดาพระองค์ที่หนึ่ง Fu his (Foo Shei) ชื่อ ฮอกฮีสี,(ฟูซิ) เป็นคนสำคัญทางวัฒนธรรมคนแรก เมื่อก่อน 5,000ปีมาแล้ว ทรงสั่งสอนให้ราษฎรทำแห ทำอวน จับปลา ช้อนกุ้ง สอนให้ราษฎรสืบเสาะหาสัตว์มาเลี้ยง จับสัตว์มาฝึกใช้งานและพืชพรรณทั้งหลาย ทรงสั่งสอนให้ราษฎรบวงสรวงเทพารักษ์ เทวดา ไหว้บิดามารดา พี่น้องที่ถึงแก่กรรม สอนให้ราษฎรสู่ขอแต่งงาน สมัยของพระองค์เริ่มใช้อักษรจีน สอนให้รู้จักหนังสือ ทำข้อสัญญา เลิกใช้ขมวดเชือกเป็นปมที่ทำเครื่องหมาย ประดิษฐ์เครื่องดนตรี ทำขิมพระองค์รู้ในตำรา ฤกษ์บน ฤกษ์ล่าง ด้วยฟ้าและดิน มีข้าวเปลือก มีม้ามังกร (เล่งเบ้)ทำตำราโหราศาสตร์และโป้ยกั่วพระองค์ที่สอง Shen Nung (Shun Noong) หรือยันตี่ Yen Ti พระเจ้าเอี้ยมเต้สินล่งฮองเต้ (เสินหนุง) รู้ในอดีตและอนาคต ฤกษ์บน…..ฤกษ์ล่าง ชาวจีนถือเป็นพระเจ้าของการกสิกรรม เป็นผู้ประดิษฐ์คันไถ และสอนให้ชาวบ้านทำไร่ไถนาพระองค์เป็นห่วงราษฎร ให้จัดหาสัตว์และพืชมาเพาะเลี้ยง ทดลองปลูกทำเป็นพืชพรรณต่อไป เช่น ผลหญ้านั้นมีห้าอย่าง ข้าวเจ้า ข้าวเหนียว ข้าวสาลี ถั่ว งา ทรงแนะนำให้มาต้มให้สุกเสียก่อน คิดหายามารักษาโรค ทรงแนะนำให้กินน้ำที่ไหล คิดทำเรือสำเภาใช้ใบใช้สำหรับไปมาและค้าขายปราบขบถที่มารุกรานตามหัวเมืองของพระองค์พระองค์ที่สาม Huang Ti (Hwang De) ชื่อว่า ฮืนฮ่วงฮวงตี้,เป็นพระเจ้าอึ้งตี่ฮองเต้ เป็นกษัตริย์ที่สำคัญในการรบคนแรกประมาณ 5,000 ปีมาแล้วปราบปรามพวกขบถ เป็นนักประดิษฐ์เข็มทิศ รถศึกสามารถแล่นถูกทิศทางท่ามกลางหมอกหน้าทึบ คิดทำปฏิทินตำราละยิด ต่อข้างขึ้นข้างแรม จัดปีและนักษัตรเสียใหม่ ทำมาตรา ทะนานตวงสิ่งของ ทำขลุ่ย ระฆัง เสี้อสีต่างๆ หกสี สีเหลืองเป็นที่หนึ่ง สร้างวัง ทำเกวียน และให้ขุดหาแร่ต่างๆ คิดยารักษาโรคต่อ ให้หมอมาร่ำเรียนทำเป็นตำราขึ้นจัดทำเขตแดน ชื่อบ้านและตำบล ทรงปลูกฝ้ายเลี้ยงไหมทอผ้า มเหสีของอึ้งตี่ก็มีชื่อเสียงในการผลิตผ้าไหม การยุติธรรม ทรงถือศีลกินเจ แล้วก็ขึ้นสวรรค์ไปกับมังกรเป็นเซียนต่อไปพระองค์ที่สี่ ชื่อว่า เซียวเฮา,ซาวเฮา,พระเจ้ากิ้มเต็กอ๋องฮองเต้ ทรงรับสั่งให้ขุนนางปักเสื้อ หมวก ที่สวมใส่เป็นรูปหงส์ ตามยศ ปราบปรามข้าศึกสงครามที่ยกมาตีบ้านเมืองของพระองค์ตามหัวเมืองต่างๆพระองค์ที่ห้า ชื่อกอเอียงสี, จวงซี, พระเจ้าจ่วนยกตี่ฮองเต้,พระโอรสทั้งเก้าพระองค์ยกกองทัพไปปราบปรามขบถตามหัวเมืองต่างๆ ทรงเปลี่ยนแปลงฤดูกาลปีหนึ่งให้สี่ฤดู ต่อมายกสมบัติให้เตียวคี้เป็นกษัตริย์ต่อไปพระองค์ที่หก ชื่อ เตียวคี้,ตี้ขู้,พระเจ้าตี่คอกฮองเต้ §ทรงตรวจดูกฎหมายแผ่นดิน พระองค์ทรงทำตำราปฎิทินใหม่เพื่อการเกษตร ไร่นา ปลูกต้นไม้ตามฤดูกาล ให้ขุนนางไปทำการขุดแร่มาใช้ประโยชน์แก่แผ่นดิน และให้เก็บตัวอย่างหินสีต่างๆ แล้วให้เอาไปหลอม มีพระโอรสชื่อ เงี้ยวอ๋อง ได้เป็นกษัตริย์ต่อไปพระองค์ที่เจ็ด Yao (You) ชื่อ เงี้ยวอ๋อง ,เอี๋ยวตี้ ,พระเจ้าเงี้ยวเต้ ฮองเต้ เป็นกษัตริย์ตัวอย่างๆ แท้จริงองค์แรก ชาวจีนอยากเห็นอีก ทรงปล่อยนักโทษตั้งโรงเลี้ยงคนแก่พิการที่ไม่มีญาติ ให้หมอหลวงรักษา ตั้งโรงเรียนสอนหนังสือขุนนางปราบปีศาจไฟเก้าดวง คิดทำปฏิทินใหม่ให้ละเอียดกว่าเก่าที่เคยทำมาแล้วถึงสามครั้งและปัจจุบันคงจะใกล้เคียงมากที่สุด ขุนนางไปกำจัดสัตว์ร้าย รับสั่งให้ขุนนางไปทำการขุดคลองจากแม่น้ำฮวงโหไหลบ่าล้นฝั่งท่วมไร่นาของราษฏร พระองค์ทรงเสด็จไปเยี่ยมราษฎร ทรงสั่งสอนราษฏร ต่อมาจึงยกราชสมบัติให้แก่ ไต้ซุ่น เป็นกษัตริย์องค์ต่อไปพระองค์ที่แปด Shun (Shwin) ชื่อ ชวิน, ไต้ซุ่น, ซุ่นตี้ พระเจ้าซุ่นเต้ฮ่องเต้ เป็นวิศวกรที่สามารถ จึงเป็นที่น่าชื่นชมของมหาชน กตัญญูต่อบิดามารดาทำนารับสั่งให้อู๋ (พระองค์ที่เก้า) ไปทำการปราบปรามหัวเมืองต่างๆที่เข้ามาทำความเดือดร้อนแก่ราษฏรรับสั่งให้อู๋ไปทำการขุดคลองสำเร็จ ปราบสัตว์ร้าย ต่อมาอู๋ได้เป็นกษัตริย์ต่อไปพระองค์ที่เก้า Yu (U) ชื่อ อู๋ เซียหยี,พระเจ้าอู๋เต้ฮองเต้ เมื่อประมาณ 4,100 ปีมาแล้ว เป็นผู้เริ่มสร้างราชวงศ์จีนขึ้น เรียกกันว่า ราชวงศ์เฉียอะ ครั้งนั้นสมัยกรุงจีนเรียกว่าแผ่นดินแฮจัด เมืองจิวเป็นเมืองใหญ่ เอาทองคำมาหล่อเป็นกระถางธูปเก้าใบให้ชื่อว่ากิ่วเตี้ย สำหรับเมืองตั้งจิวเก้าเมือง บรรดาหัวเมืองทั้งยี่สิบสี่หัวเมืองเข้าเฝ้า รับสั่งให้ทำสัญญาณขึ้นไว้ห้าอย่าง ระฆัง กลอง ตัด เตียว อีกอย่างเข่ง ในเมืองไทยยังไม่มี ปล่อยนักโทษ ห้ามขุนนางทำสุรา พระองค์เป็นกษัตริย์ตัวอย่างที่แท้จริง เป็นวิศวกรที่เรื่องลือสามารถเจาะภูเขาสร้างที่เก็บน้ำ และจัดระบบให้ระบายน้ำได้อย่างดี เล่าเอี๊ยะเป็นขุนนางพระเจ้าอู๋เต้ฮองเต้จะยกราชสมบัติให้เล่าเอี๊ยะๆ ไม่ยอมรับ ฯลฯ ต่อมาพระราชโอรสพระเจ้าอู๋เต้ฮ่องเต้ครองราชสมบัติแทน ต่อมามีการแย่งชิงสมบัติพระราชบัลลังก์กันมาเรื่อยๆ จนถึงราชวงศ์เซียว และราชวงศ์จิวสมัยห้องสินพระเจ้าติ่วอ๋องกับพระเจ้าบู้อ๋องจึงปรากฏลี้เจ้ง กิ้มเฉี้ย โล่เฉี้ย หลุ่ยจิ้นจู้ บกเฉี้ย เอี้ยวเจี้ยน เทวดาส่งมาให้เกิดเพื่อมาช่วยปราบปรามทำศึกกับกษัตริย์ที่ไม่อยู่ในยุติธรรม ไม่อยู่ในธรรมเนียมกษัตริย์

พิธีลงเสาเทวดา (เซียโก่เต้ง)ขึ้น 10 ค่ำ เดือน 9 จีน)

                           วันขึ้น 10 ค่ำ เดือน 9 จีน ทุกศาลเจ้าเมื่อเสร็จจากพิธีกินผักจะต้องเขียนกระดาษแดง (เลี่ยนตุ่ย) ติดตามประตูต่างๆ ทุกแห่ง จัดเก็บเข้าของที่ได้นำมาใช้ในงาน ส่วนทางฝ่ายโรงครัวจัดทำอาหารคาวมีประเภทเนื้อสัวต์ต่างๆ เตรียมไว้ครั้นถึงเวลา 5 โมงเย็นประชาชนจะมาช่วยกันลงเสาเทวดากับกิ้วอ๋องต่ายเต่ เรียกว่า เซียโก่เต้ง หน้าศาลเจ้าลงแล้วหามเก็บเข้าที่ตามเดิม หลังจากนั้นก็เริ่มพิธีเลี้ยงอาหารเรียกว่า โข้กุ้น ตามทิศต่างๆที่ได้มารักษาการณ์ให้บริเวณงานทั้งภายในและภายนอกศาลเจ้าเชิญกลับเข้ากรมกองเรียกว่า ซิ่วกุ้น แต่ถ้าหากพิธีซิ่วกุ้น แต่ถ้าหากพิธีซิ่วกุ้นเชิญทหารกลับไม่หมดประชาชนเคราะห์หามยามร้ายจะเกิดมีการต่างๆ (ช้อง) เกิดขึ้นได้ เมื่อเสร็จประชาชนที่ได้เชิญรูปพระหรือเทพต่างๆ ที่นำไปร่วมในพิธีกินผักจะต้องเชิญกลับบ้านหลังจากโข้กุ้น ขุ่ยโฉ้ (กินอาหารคาว) เป็นอันว่าได้สิ้นสุดพิธีกินผักโดยสมบรูณ์ของปีนี้

พิธีส่างกิ้วอ๋องต่ายเต่ (พระราชาธิราชทั้ง 9 พระองค์)

               ก่อนเที่ยงคืนหรือหลังเที่ยงคืน จะทำพิธีส่งเก้ง คือ สวดมนต์ รายงานเป็นครั้งสุดท้ายภายในห้องราชสำนักเพื่ออ่านรายชื่อคณะกรรมการ และผู้ที่มาช่วยเหลือพร้อมกับประชาชนทุกๆคน (ฉ้ายอิ้ว) ทั้งชายและหญิงที่มาร่วมในพิธีผักในปีนี้ทั้งหมดจำนวนเท่าไรและรวมถึงข้าวสารให้กิ้วอ๋องต่ายเต่ ได้รับทราบและขอให้ศาลเจ้า จงอยู่เป็นหมื่นปี (ฮับเก้งเป่งอ้าน) ขอให้ประชาชนทุกคนอยู่เย็นเป็นสุขโดยทั่วกัน หลังจากทำพิธีส่งเก้งเสร็จแล้ว คณะกรรมการผู้มีหน้าที่เชิญกระถางธูปต่างๆพร้อมทั้งของเล่งก้วนต่ายเต่ (ราชเลขา) ล่ำเต้า-ปั้กเต้า (ผู้ถือบัญชีคนตายและคนเกิด) ออกจากศาลเจ้าไปยัง ณ สถานที่ส่งตามที่ทางศาลเจ้าได้กำหนดไว้

พิธีส่งยกอ๋องส่งเต่ ขึ้น 9 ค่ำเดือน 9 จีน

            ก่อนเที่ยงคืนหรือเที่ยงคืน ทางศาลเจ้าจะจัดโต๊ะทำพิธีส่งพระขึ้นสวรรค์ คือ ส่งเก้งส่างยกอ๋องส่งเต่ คือ เชิญพระอิศวรกลับขึ้นสรวงสวรรค์ ที่มาเป็นประธานใหญ่ในพิธีทั้ง 9 วัน 9 คืน เมื่อครบกำหนดจึงทำพิธีส่งที่หน้าศาลเจ้าจะมีผู้คนส่งเทวดาขึ้นสวรรค์เป็นจำนวนมาก พร้อมกับแจ้งรายงานจำนวนผู้ที่มาร่วมพิธีกินผักทั้งชายหญิงจำนวนเท่าไรใช้ข้าวสารไปจำนวนกี่กระสอบในปีนี้ให้พระอิศวรรับทราบและขอให้ศาลเจ้าอยู่เป็นหมื่นปีพร้อมกับประชาชนทุกคนอยู่เย็นเป็นสุขโดยทั่วกัน 

พิธีโก้ยห่าน

                      ผ่านการสะเดาะเคราะห์ประทับตรามีรูปต่างตัว (โต้ยซี้น) ต่างตัวกับต้นกู้ฉ่าย 1 ต้น กับเศษสตางค์ สำหรับผู้ชายจะเดินข้ามหม้อไฟไม้หอม เดินข้ามสะพานเทพเจ้าประทับตราให้ เมื่อผ่านไปแล้วจึงนำรูปต่างตัวกับต้นกู้ฉ่ายกับเศษสตางค์ลงในแข่งที่รองรับไว้ส่วนสำหรับผู้หญิง จะไม่มีหม้อไฟไม้หอม นอกนั้นปฏิบัติเหมือนกันทุกอย่าง การโก้ยหาน เป็นการสะเดาะห์อีกแบบหนึ่ง คือ สำหรับผู้ที่ไม่กล้าลุยไฟที่เป็นผู้ชาย ผู้หญิงหรือเด็กจะเข้ามาทำการโก้ยห่านได้เพื่อจะได้ให้สิ่งเลวร้ายต่างๆจะได้ไปพร้อมกับรูปต่างตัว ส่วนต้นกู้ฉ่ายนั้นมีความหมายว่าจะได้อายุยืนยาวต่อไปเหมือนกับต้นกู้ฉ่าย (ความหมาย คืน ต้นกู้ฉ่ายนี้เมื่อตัดต้นมากินแล้ว ส่วนหัวของต้นจะแตกยอดเป็นต้นขึ้นมาอีกจะไม่มีวันหมด ซึ่งเข้าใจกันว่าจะแตกกอและยืนยาวไม่มีสิ้นสุด)

พิธีโก้ยห่าน

                      ผ่านการสะเดาะเคราะห์ประทับตรามีรูปต่างตัว (โต้ยซี้น) ต่างตัวกับต้นกู้ฉ่าย 1 ต้น กับเศษสตางค์ สำหรับผู้ชายจะเดินข้ามหม้อไฟไม้หอม เดินข้ามสะพานเทพเจ้าประทับตราให้ เมื่อผ่านไปแล้วจึงนำรูปต่างตัวกับต้นกู้ฉ่ายกับเศษสตางค์ลงในแข่งที่รองรับไว้ส่วนสำหรับผู้หญิง จะไม่มีหม้อไฟไม้หอม นอกนั้นปฏิบัติเหมือนกันทุกอย่าง การโก้ยหาน เป็นการสะเดาะห์อีกแบบหนึ่ง คือ สำหรับผู้ที่ไม่กล้าลุยไฟที่เป็นผู้ชาย ผู้หญิงหรือเด็กจะเข้ามาทำการโก้ยห่านได้เพื่อจะได้ให้สิ่งเลวร้ายต่างๆจะได้ไปพร้อมกับรูปต่างตัว ส่วนต้นกู้ฉ่ายนั้นมีความหมายว่าจะได้อายุยืนยาวต่อไปเหมือนกับต้นกู้ฉ่าย (ความหมาย คืน ต้นกู้ฉ่ายนี้เมื่อตัดต้นมากินแล้ว ส่วนหัวของต้นจะแตกยอดเป็นต้นขึ้นมาอีกจะไม่มีวันหมด ซึ่งเข้าใจกันว่าจะแตกกอและยืนยาวไม่มีสิ้นสุด)

พิธีโก้ยโห้ย

              เป็นพิธีกรรมสะเดาะเคราะห์อีกรูปแบบหนึ่ง เมื่อมีการประกอบพิธีกินผัก จะต้องมีการลุยไฟทุกครั้ง เพื่อให้สิ่งเลวรายไปกับเปลวไฟหรือการลุยไฟนั้นเอง

พิธีเชี้ยเหี้ยวโห้ย (เชิญธูปจุดไฟจากประเทศจีน)

                   รุ่งเช้ามือของวันแห่การจัดเตรียมสิ่งของต่างๆ ที่ได้เตรียมไว้เชิญพระผู้ใหญ่เข้าประทับทรงได้เวลาอันสมควรจึงเคลื่อนขบวนแห่ไปยังสะพานหิน การจัดขบวนแห่ที่ใหญ่โตตามลำดับประกอบด้วยดังนี้
1.ค่ายโหล (ฆ้องเบิกทาง)
2.ตั๋วกี๋ (ธงใหญ่)
3.เถ๋ากี๋ (ธงนำหน้า)
4.ป้ายชื่อกิ้วอ๋องต่ายเต่ เสด็จผ่านและป้ายให้เงียบและสงบ
5.โฉ้ย (ปี่ยาว)
6.เฉ่งตัวโหล (ฆ้องใหญ่)
7.ไท่เผีย หรือ เก่ว (เกี้ยวเล็ก)
8.เทพเจ้าต่างๆ ประทับทรง
9.โฉ้ย (ปี่สวรรค์)
10. เหี้ยวเต่า (เครื่องหม้อไฟหอม)
11.เหนี่ยวซั่ว (ร่ม กระถางธูปมือถือ)
12. ตั่วเลี้ยน (เกี้ยวใหญ่) ที่ประทับสำหรับกิ้วอ่องต่ายเต่ ประทับเมื่อขบวนแห่ไปถึงสะพานหิน เจ้าหน้าที่ฮวดกั้ว (เลอไท) และคณะกรรมการบริหารได้ร่วมทำพิธีเชิญเหี้ยวโห้ย ของ (พระราชาธิราชทั้งเก้าพระองค์) โดยการเสี่ยงทาย (ปั๊วะโป้ย) เมื่อทำพิธีเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงอันเชิญนำขบวนแห่กลับศาลเจ้าตามเดิม

พิธีโก้ยชิดแฉ้ (บูชาเทวดาดาวพระเคราะห์)

                    เวลา 14.00 น. ทางศาลเจ้าจะปลูกปะรำพิธีหน้าศาลเจ้ามีเทพเจ้าผู้ใหญ่จะทำพิธี เมื่อเวลาประมาณ 20.30 น. คณะกรรมการบริหารและผู้เกี่ยวข้องจะต้องร่วมพิธีเพื่อบูชาบวงสรวงเทพยดาต่างๆ และดาวพระเคราะห์ เรียกว่า (โก้ยชิดแฉ้ หรือ ป้ายชิดแฉ้) มีการส่งเก้ง (สวดมนต์) อ่านรายชื่อผู้เข้าร่วมกินผักทั้งชายและหญิงและจำนวนข้าวสารที่ใช้ไปในงานและอวยพรให้ประเพณีกินผักอยู่ยืนยาว และให้ฉ้ายอิ้ว (สมาชิก) อยู่เย็นเป็นสุขโดยทั่วกันทุกคน จากนั้นผ้าป้อฮู้ เรียก (ผ้ายันต์) ส่วน ฮู้จั้ว คือ กระดาษ (ยันต์) บรรดาพระผู้ใหญ่ที่ประทับทรงอยู่บนปะรำพิธีจะโปรยผ้ายันต์หรือกระดาษยันต์ลงมาให้กับประชาชนที่รอคอยกันอยู่เบื้องล่างเป็นจำนวนมากและผู้คนได้แย่งกัน นับเป็นประเพณีที่แปลกไปอีกอย่างหนึ่ง ในคืนนี้ ได้จัดเตรียมขบวนแห่สิ่งของต่างๆ เพื่อไปเชี้ยโห้ยที่สะพานหิน ซึ่งเป็นวันคล้ายกับเป็นการระลึกถึงครั้งแรกที่ทางศาลเจ้าต่างๆ ได้ไปเชิญพระกิ้วอ๋องต่ายเต่ (ราชาธิราชทั้งเก้าพระองค์) พร้อมคัมภีร์พิธีกรรมกินผักต่างๆ ที่มาจากประเทศจีน

พิธีเชิญล่ำเต้าปักเต้า (ผู้ถือบัญชีคนเกิดและคนตาย)

               ในวันเดียวกันตอนค่ำเวลา 19.30 น. เจ้าหน้าที่ฮวดกั้ว (เลอไท) ทำพิธีเชิญเทพเข้าประทับทรงจัดขบวนแห่ไปอัญเชิญ ล่ำเต้า - ปั๊กเต้า (ผู้ถือบัญชีคนเกิดคนตาย) ซึ่งเคยปฏิบัติมาประดิษฐาน ณ ห้องประทับพระราชวังชั้นกลาง เพื่อมาร่วมรับทราบและร่วมพิธีกรรมในครั้งนี้ด้วย พอตกดึก เถ้าเก้ล่อจู้ คำว่า ล่อจู้ คือ หัวหน้า รองล่อจู้ คือ ผู้ช่วย เก่าแก้ คือรองจากผู้ช่วย เจ้าหน้าที่พวกนี้จะมีหน้าที่ดูแล ปัดกวาด ดูแลความเป็นระเบียบเรียบร้อยภายในศาลเจ้าและอำนวยความสะดวก แนะนำแก่ผู้ที่มาบูชาพระ พวกเขาเหล่านี้ เขาถือว่าเป็นผู้โชคดีที่สุดที่ได้มารับใช้พวกเจ้าหน้าที่เหล่านี้จะต้องเข้าเวรยามรักษาการณ์ในศาลเจ้า เขาจะนำรายชื่อผู้ที่มาก่าวเอี้ยนลุ้ย (คือ ผู้ที่มาร่วมทำบุญ) มาทำการปั๊วะโป้ย (เสี่ยงทาย) ต่อหน้ายกอ๋องส่งเต่ (พระอิศวร) คัดเลือกฉ้ายอิ้ว คือ (สมาชิก) เรื่อยไปจนถึงวันสุดท้ายเพื่อเตรียมเป็นเจ้าหน้าที่ที่ได้คัดเลือกรายชื่อเตรียมไว้ช่วยงานศาลเจ้าในปีต่อไปก็คือ เถ้าแก่ล้อจู้